วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กฏหมายที่ประชาชนควรรู้จัก

กฏหมายทะเบียนราษฏร
กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎรได้กำหนดระเบียบปฏิบัติในการแจ้งเกิด การแจ้งตาย การย้ายที่อยู่ การจัดทำทะเบียนคนและทะเบียนบ้าน โดยได้กำหนดไว้ว่าเมื่อมีคนเกิดในบ้านเจ้าบ้านจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ภายในเวลา 15 วันนับแต่วันเกิด เมื่อมีคนตายเจ้าบ้าจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในเวลา 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย เมื่อบุคคลย้ายออกจากบ้านหรือย้ายเข้ามาอยู่ในบ้าน เป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในเวลา 15 วัน พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 เป็นกฎหมายสำคัญที่กำหนดระเบียบปฏิบัติ การแจ้งเกิด การแจ้งตาย การย้ายที่อยู่ การจัดทำทะเบียนคนและทะเบียนบ้าน เป็นกฎหมายที่ใกล้ตัวเกี่ยวข้องกับตนเองและสังคมเป็นอย่างมาก เมื่อคนเกิดมาจะต้องทำอย่างไร เป็นหน้าที่ของใครที่จะแจ้งเกิด ไปแจ้งที่ไหน หรือเมื่อมีคนตายผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องปฏิบัติอย่างไร เมื่อต้องการย้ายที่อยู่จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างไร

1. ประโยชน์ของกฎหมายเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร การที่กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎรได้กำหนดให้มีทะเบียนคนเกิด ทะเบียนคนตาย ทะเบียนบ้านจะเป็นประโยชน์ทำให้รู้ข้อมูลต่างๆ ของประชากรในประเทศ โดยรู้ว่าในบ้านหนึ่งในท้องที่หนึ่งมีประชากรกี่คน เป็นเพศอะไรบ้าง แต่ละคนมีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีการโยกย้ายออกไปหรือเข้ามาในท้องถิ่นนั้นอย่างไร มีจำนวนประชากรเพิ่มหรือลดลงจากการเกิดการตายเท่าใด จำนวนประชาการในแต่ละท้องถิ่นมีจำนวนมากน้อยเพียงไร ซึ่งความรู้ในข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายปกครองและฝ่ายบริหารบ้านเมือง เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป กรณีตัวอย่าง การพัฒนาด้านการศึกษา จากการที่รู้ข้อมูลว่าจำนวนประชากรในแต่ละท้องถิ่นมีความหนาแน่นเพียงไร มีอัตราการเพิ่มอย่างไร ก็สามารถเป็นข้อมูลของรัฐบาลที่จะให้งบประมาณในด้านการสร้างโรงเรียน หรือในด้านการคมนาคม การที่จะให้มีการพัฒนาด้านการสร้างถนนหนทางไปในท้องถิ่นต่างๆ ก็ต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ความหนาแน่นของบ้านเรือน เหล่านี้เป็นต้น หรือในด้านสาธารณสุขในเรื่องของการป้องกันโรคระบาด เมื่อในท้องที่ใดมีการแจ้งตายด้วยโรคระบาดก็สามารถเร่งให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาดให้แก่คนในท้องถิ่นนั้นได้โดยรวดเร็วเพื่อป้องกันโรคบาด เป็นต้น


2. คนเกิด 2.1 การแจ้งเกิด เมื่อมีคนเกิดให้แจ้งเกิดดังต่อไปนี้ 1) คนเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือบิดมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่คนเกิดในบ้านภาย 15 วันนับแต่วันเกิดในกรณีคนเกิดในโรงพยาบาล ซึ่งในโรงพยาบาลบางแห่งเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจะบริการไปแจ้งเกิดต่อนายทะเบียนท้องที่ที่คนเกิด โดยปฏิบัติตามกำหนดเวลาดังกล่าว หรือถ้าเป็นโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร บางแห่งจะมีสำนักงานทะเบียนท้องที่นั้นประจำอยู่ที่โรงพยาบาล โดยมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ในด้านบริการรับแจ้งเกิด 2) คนเกิดนอกบ้าน ให้บิดาหรือมารดาแจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดนอกบ้าน หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ภายใน 15 วันนับแต่วันเกิด ในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ตามกำหนดให้แจ้งภายหลังได้ แต่ต้องไม่เกิน 30 วันนับแต่วันเกิด ถ้าบิดามารดาประสงค์จะเปลี่ยนชื่อบุตรนั้น ให้แจ้งภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่แจ้งชื่อคนเกิดต่อนายทะเบียน และให้นายทะเบียนจัดการเปลี่ยนชื่อให้ โดยต้องเสียค่าธรรมเนียม 25 บาท 3) ผู้ที่พบเด็กในสภาพแรกเกิดหรือเด็กอ่อนซึ่งถูกทอดทิ้ง ให้นำเด็กนั้นไปส่งและแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ประชาสงเคราะห์แห่งท้องที่ที่พบเด็กนั้นโดยเร็ว 2.1 สถานที่แจ้งเกิด 1) ในเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานเทศบาล 2) นอกเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนตำบล ซึ่งได้แก่ บ้านของกำนันผู้ใหญ่บ้าน หรือข้าราชการอื่นที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียนตำบล 3) ในกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น ซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานเขตการแจ้งเกิดในกรณีคนเกิดในบ้าน เป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านแต่จะมอบหมายให้ผู้ใดไปแจ้งแทนก็ได้ การไปแจ้งเกิดกรณีคนเกิดในบ้าน ผู้แจ้งต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านไปด้วยทุกครั้ง เมื่อนายทะเบียนรับแจ้งการเกิดแล้ว จะมอบสูติบัตรให้แก่ผู้แจ้งเป็นหลักฐานสูติบัตร เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการและมีประโยชน์มาก เพราะเป็นเอกสารที่แสดงถึงชื่อตัว ชื่อสกุล สัญชาติ วัน เดือน ปีเกิด ชื่อตัว ชื่อสกุล และสัญชาติของบิดามารดา ต้องเก็บรักษาไว้ให้ดีเพื่อนำไปแสดงเป็นหลักฐานได้ทุกโอกาสตราบเท่าที่มีชีวิตอยู่



3. คนตาย 3.1 การแจ้งตาย เมื่อมีคนตายให้แจ้งตายดังต่อไปนี้ 1) คนตายในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายภายในเวลา 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย ในกรณีที่ไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพเป็นผู้แจ้งการตายภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาพบศพ 2) คนตายนอกบ้าน ให้บุคคลที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ตายหรือพบศพแล้วแต่กรณี หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือพบศพ หรือจะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจก็ได้ ถ้าในท้องที่ใดการคมนาคมไม่สะดวก ผู้อำนวยการทะเบียนกลางอาจขยายเวลาออกไปตามที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกิน 7 วัน นับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ การแจ้งตายกรณีคนตายในบ้าน เจ้าบ้านจะมอบหมายให้ผู้ใดไปแจ้งแทนก็ได้ โดยผู้แจ้งจะต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านไปด้วย 3.2 สถานที่แจ้งตาย 1) ในเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานเทศบาล 2) นอกเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนตำบล ซึ่งได้แก่ บ้านของกำนันผู้ใหญ่บ้าน หรือข้าราชการอื่นที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียนตำบล 3) ในกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น ซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานเขต การแจ้งตายในกรณีคนตายในบ้าน เป็นหน้าที่เจ้าบ้านแต่จะมอบหมายให้ผู้อื่นที่อยู่ในบ้านเดียวกันไปดำเนินการแทน ไม่ต้องทำหนังสือมอบอำนาจ ถ้าจะมอบให้บุคคลอื่นที่ไม่ได้อยู่ในบ้านเดียวกันไปดำเนินการแทน ต้องทำหนังสือมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษร การแจ้งตายในกรณีคนตายในบ้าน และผู้นั้นมีชื่อยู่ในทะเบียนบ้านด้วย เมื่อไปแจ้งต้องต้องนำสำเนาทะเบียนฉบับเจ้าบ้านไปด้วย และเมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งการตายจะมอบมรณบัตรให้แก่ผู้แจ้งเป็นหลักฐานมรณบัตร เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการ ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการตายของบุคคล

กฏหมายการเกณฑ์ทหาร
พ.ร.บ. รับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ และกฎกระทรวงออกตามความใน พ.ร.บ. ฯพ.ศ.๒๔๙๘ ประชาชนชาวไทยโดยเฉพาะชายที่มีสัญชาติไทย ต้องเข้ารับราชการทหารด้วยกันทุกคน แต่มีจำนวนมากยังไม่เข้าใจ เกี่ยวกับหน้าที่การรับราชการทหารในขั้นตอนต่าง ๆ เช่น การขึ้นทะเบียนทหาร การรับหมายเกณฑ์ การเก็ณฑ์ทหาร รวมไปถึงการขอยกเว้น และการขอผ่อนผันในการเข้ารับราชการทหารกองประจำการ ซึ่งก่อให้เกิดความสับสนไม่เข้าใจวิธีปฏิบัติตามหน้าที่ที่ถูกต้อง หรือได้รับคำชี้นำในการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย จนกระทั่งต้องถูกดำเนินคดีเป็นจำนวนมาก ในข้อหาหลีกเลี่ยงขัดขื่นไม่ไปลงบัญชีทหารกองเกิน (ขึ้นทะเบียนทหาร) ไม่ไปรับหมายเรียก(หมายเกณฑ์) , หรือไม่ไปเข้ารับการตรวจเลือก (เกณฑ์ทหาร) และ อื่น ๆ เป็นเหตุให้ต้องเสียทั้งเวลาและทรัพย์สินในการต่อสู้คดี ดังนั้นเพื่อให้ชาวไทย ซึ่งเป็นทั้งนักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้ทราบถึงหน้าที่และการปฏิบัติ เกี่ยวกับการรับราชการทหารได้ถูกต้องกองการสัสดี กรมเสมียนตรา จึงได้ทำคู่มือฉบับนี้ขึ้น เพื่อชี้แจงเน้นย้ำ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรับราชการทหาร เพื่อจะปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดไว้ได้อย่างถูกต้อง และมีจิตสำนึกที่ดี พร้อมที่จะอุทิศแรงกายแรงใจ เสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อรับใช้ประเทศชาติด้วยความเต็มใจสมกับเป็นชายชาติทหารอย่างแท้จริง หวังว่าคู่มือสำหรับประชาชนเรื่องความรู้เกี่ยวกับ การรับราชการทหารฉบับนี้ คงเป็นประโยชน์แก่ท่านตามสมควร



ประเทศตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ปกครองประเทศเป็นต้นมา กำหนดให้ชายไทยทุกคนต้องรับราชการทหารและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรพุทธศักราช ๒๕๔๐ ฉบันที่ใช้ในปัจจุบันยังกำหนดไว้ในหมวดที่ ๔ หน้าที่ของชายไทย มาตรา ๖๙ ซึ่งมีความว่า " บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รับราชการทหาร เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษา อบรม ...ฯลฯ.. ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ " กฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ มาตรา ๗ บัญญัติว่า "ชายที่มีสัญชาติ เป็นไทย "และการได้มีสัญญาติไทยเป็นไปตามพระราชบัญญัติสัญชาติไทยตามกฎหมายมีหน้าที่รับราชการทหารด้วยตนเองทุกคน พ.ศ.๒๕๐๘ ดังนั้นหน้าที่ของชายไทยทุกคนต้องรับราชการทหาร พูดง่าย ๆ ว่า "ต้องไปเกณฑ์ทหาร" ซึ่งการรับใช้ชาติด้วยการเป็นทหารเป็นเรื่อง ที่มีเกียรติมีศักดิ์ศรี เพราะกองทัพไทยจะฝึกฝนผู้เข้ารับราชการหารให้มีระเบียบ วินัย ฝึกหัดวิชาชีพเพิ่มพูนความรู้ในด้านต่าง ๆ อัน เป็นประโยชน์และมีคุณค่าอย่างมากแก่ทหารเกณฑ์ทุกคน ซึ่งปกติการเกณฑ์ทหารจะกระทำกันในช่วงเดือน เม.ย. ของทุกปี ปีละครั้ง และต้องเข้ารับราชการเป็นทหารเกณฑ์จำนวน ๒ ปี แต่มีข้อยกเว้นและผ่อนผันสำหรับผู้ที่เรียนวิชารักษาดินแดน(ร.ต.) หรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับต่าง ๆ ซึ่งกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติรับราชการทหารและกฎกระทรวง ซึ่งจะกล่าวต่อไป ๑.หน้าที่ของชายไทยที่จะต้องเกี่ยวกับการรับราชการทหารมีดังนี้ ๑.๑ การลงบัญชีทหารกองเกิน (การขึ้นทะเบียนทหาร) ชายไทยเมื่ออายุย่างเข้า ๑๘ ปี (๑๗ ปีบริบูรณ์) ให้ไปแสดงตนเพื่อขึ้นทะเบียนทหารภายในปี พ.ศ.นั้น ๑.๒ การรับหมายเรียก(การรับหมายเกณฑ์) ทหารกองเกินทุกคนเมื่อมีอายุย่างเข้า ๒๑ ปี (๒๐ ปี บริบูรณ์ ) ใน พ.ศ. ใดต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหารของตน ภายใน พ.ศ.นั้น ๑.๓ การเข้ารับการตรวจเลือก (การเข้าเกณฑ์ทหาร)ทหารกองเกินเมื่อได้รับหมายเรียกแล้วจะต้องไปเกณฑ์ทหารตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนดไว้ในหมายเรียก ๑.๔ การเข้ารับการเรียกพลของทหารกองหนุน ทหารที่ปลดจากกองประจำการโดยรับราชการในกองประจำการจนครบตามที่กฎหมายกำหนด หรือทหารกองเกินซึ่งสำเร็จการฝึกวิชาทหารตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร และได้ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นทหารกองหนุน เมื่อมีหมายเรียกพล (เพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม) จะต้องไปรายงานตัวเพื่อเข้ารับการฝึก หรือทบทวนวิชาทหาร ให้มีความรู้ความสามารถพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๒.บุคคลที่จะได้สัญชาติไทย จะต้องเข้าหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ ๒.๑ เกิดโดยบิดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย ๒.๒ เกิดนอกราชอาณาจักรไทย โดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายหรือบิดาไม่มีสัญชาติ ๒.๓ เกิดในราชอาณาจักรไทย (นอกจากผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ที่มีบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว และขณะที่เกิดบิดามารดาเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต หรือเจ้าหน้าที่ในคณะผู้แทนทางการทูต หรือพนักงานหรือผู้เชี่ยวชาญขององค์การระหว่างประเทศ และคนในครอบครัว ซึ่งเป็นญาติอยู่ในอุปการะหรือคนใช้ ซึ่งเดินทางมาอยู่กับบุคคลดังกล่าว) ๒.๔ ผู้ที่ได้แปลงสัญชาติเป็นไทยตามกฎหมาย ๒.๕ บุคคลที่ได้กลับคืนสัญชาติไทย ชายที่มีสัญชาติไทย เริ่มผูกพันกับกฎหมายรับราชการทหาร ตั้งแต่อายุครบ ๑๗ ปีบริบูรณ์ หรือ อายุย่างเข้า ๑๘ ปี ในวาระแรกที่ได้ขึ้นทะเบียนทหารที่อำเภอตามที่กฎหมายกำหนด ๓.การนับอายุ คนเกิดในวันใดเดือนใดก็ตามปีเดียวกัน เมื่อสิ้นปีนั้น อายุจะเท่ากันหมด คือ ๑ ปีบริบูรณ์และนับเป็นอายุย่าง ๒ ปีด้วย เช่น คนเกิดวันที่ ๑ ม.ค.๒๕๔๐ กับคนเกิดวันที่ ๓๑ ธ.ค.๒๕๔๐ เมื่อสิ้นปี ๒๕๔๐ และในวันที่ ๑ ม.ค.๒๕๔๑ ให้นับอายุครบ ๑ ปีบริบูรณ์ และจะมีอายุย่าง ๒ ปี เท่ากัน เรื่อยไปจนถึงวันที่ ๓๑ ธ.ค.๒๕๔๑ และเมื่อสิ้นปี ๒๕๔๑ แล้ว ในวันที่ ๑ ม.ค.๒๕๔๒ ให้นับอายุครบ ๒ ปีบริบูรณ์และจะมีอายุย่าง ๓ ปี ด้วยให้นับเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ ตามที่ต้องการ การจะทราบว่าอายุปัจจุบันเท่าใด้ให้เอา พ.ศ.ปัจจุบันตั้งลบด้วย พ.ศ.เกิด เช่น คนเกิด พ.ศ.๒๕๒๔ จะมีอายุครบ ๑๗ ปีบริบูรณ์ หรือย่างเข้า ๑๘ ปี ตลอดปี ๒๕๔๑ คือ อายุครบและอายุย่าง ตั้งแต่วันที่ ๑ ม.ค.๔๑ - วันที่ ๓๑ ธ.ค.๔๑


ชายที่มีสัญชาติไทย เมื่อมีอายุย่างเข้า ๑๘ ปี (๑๗ ปีบริบูรณ์) ใน พ.ศ.ใด ให้ไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน(ไปขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน) ณ อำเภอท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหารของเตน ภายใน พ.ศ.นั้น(ตั้งแต่ ๑ ม.ค.- ๓๑ ธ.ค.) เช่น เกิด พ.ศ.๒๕๒๔ ต้องไปขึ้นทะเบียนทหารในพ.ศ.๒๕๔๑ ผู้ใดไม่สามารถไปขึ้นทะเบียนทหารกองเกินด้วยตนเองได้ต้องให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติและเชื่อถือได้ไปแจ้งแทน(ปกติควรให้ผู้ปกครอง) ถ้าไม่ไปแจ้งแทนในปีนั้นถือว่าหลี่กเลี่ยงขัดขืนทางอำเภอแจ้งความดำเนินคดีมีโทษจำคุกไม่เกิน ๓ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๓๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(ส่งให้พนักงานสอบสวน คือ ตำรวจเปรียบเทียบปรับไม่ได้ ต้องดำเนินคดีถึงชั้นศาล) เมื่อได้ลงบัญชีทหารกองเกินแล้ว ให้ถือว่าเป็นทหารกองเกินตั้งแต่ วันที่ ๑ ม.ค. ของปีถัดไป ๑. การลงบัญชีทหารให้ปฏิบัติ ดังนี้ กรณีบิดาและมารดาสมรสกันตามกฎหมาย ให้ถือภูมิลำเนาของบิดาเป็นหลักในการลงบัญชีทหารถ้าบิดาถึงแก่กรรมแล้ว มารดายังมีชีวิตอยู่หรือถ้าทั้งบิดาและมารดาถึงแก่กรรมแล้ว มีผู้ปกครองให้ถือลำเนาในการลงบัญชีทหารที่อำเภอท้องที่ที่มารดาหรือผู้ปกครองมีภูมิลำเนาแล้วแต่กรณี หรือถ้าบุคคลดังกล่าวถึงแก่กรรมหมดให้ลงบัญชีทหารที่อำเภอท้องที่ที่ผู้ขอลงบัญชีทหารมีภูมิลำเนาอยู่ (ภูมิลำเนาคือการที่มีรายชื่อปรากฎอยู่ในทะเบียนบ้าน) การขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน ผู้ขอยื่นใบแสดงตน เพื่อขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน ต้องนำหลักฐานคือสูติบัตรหรือบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน (ที่มีชื่อบิดา หรือมารดา) ต่อนายอำเภอท้องที่ เมื่อนายอำเภอท้องที่ได้ตรวจสอบหลักฐาน เอกสารเห็นว่าถูกต้องแล้วจะรับลงบัญชีทหารและออกใบสำคัญทหารกองเกิน(แบบ สด.๙)ให้เป็นหลักฐาน ตัวอย่าง เช่น นาย ก. เกิด พ.ศ.๒๕๒๔ ให้ถือว่าอายุครบ ๑๗ ปี บริบูรณ์ และอายุย่าง ๑๘ ปี ใน พ.ศ.๒๕๔๑ เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย นาย ข. และ นาง ค. (นาย ข. มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ นาง ค. มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี, นาย ก. มีภูมิลำเนาอยู่กับน้า) กรณีนี้ นาย ก. จะต้องนำทะเบียนของตนพร้อมด้วยบัตรประจำตัวประชาชนไปแสดงขอลงบัญชีทหารที่อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของบิดากับต้องนำทะเบียนบ้านของบิดาและมารดาไปแสดงด้วย เมื่อลงบัญชีทหารแล้วถือว่า นาย ก. มีภูมิลำเนาทหารอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ถ้านาย ข. เสียชีวิต นาย ก. จะต้องนำทะเบียนบ้านบัตรประจำตัวประชาชนของตนกับมรณบัตรของนาย ข. และทะเบียนของ นาง ค. ไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ถ้า นาย ข. และ นาง ค. หย่าขาดจากกัน นาย ก. อยู่กับมารดาที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี หรืออยู่กับน้าที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานครก็ตาม กรณีนี้ นาย ก. จะต้องไปลงบัญชี ณ อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของบิดา ถ้าไม่สะดวกที่จะไปลงบัญชีทหารด้วยตนเอง จะให้บิดาแจ้งการลงบัญชีทหารแทนก็ได้ต้องใกล้กระชั้นวันหมดเขตการลงบัญชีทหาร โดยส่งสำเนาทะเบียนบ้านของตน และของมารดา อีกทั้งบัตรประจำตัวประชาชนของตน พร้อมกับแจ้งตำหนิ แผลเป็นเหนือเอวขึ้นไปที่เห็นได้ง่ายและชัดเจน ซึ่งต่อไปจะไม่สูญหาย เช่น "แผลเป็นที่แก้มขวา" เพื่อให้บิดาดำเนินการแจ้งลงบัญชีทหารแทน เสร็จแล้วบิดาจะส่งเอกสารดังกล่าวพร้อมกับใบสำคัญ (แบบ สด.๙) ให้แก่ นาย ก. ไว้เป็นหลักฐานต่อมาถ้า นาย ก. ประสงค์จะตรวจเลือกทหารที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานครก็กระทำได้ โดยแจ้งย้ายภูมิลำเนาทหารมาอยู่ที่เขตดุสิต การแจ้งไม่ต้องไปแจ้งที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่แต่อย่างใด คงแจ้งที่เขตดุสิตแห่งเดียวกล่าวคือ เพียงแต่นำใบสำคัญ (แบบ สด.๙) ไปขอแจ้งย้ายภูมิลำเนาทหารที่เขตดุสิต(สัสดีเขตดุสิตเป็นผู้ดำเนินการให้)ถ้า นาย ข.และ นาง ค. เสียชีวิตทั้งสองคนและมีน้าเป็นผู้ปกครองกรณีนี้ นาย ก. จะต้องนำหลักฐานดังกล่าวแล้วข้างต้น ไปลลบัญชีทหารที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นภูมิลำเนาขงน้าถ้า นาย ก. เกิตนอกสมรสและบิดามิได้จดทะเบียนรองรับบุตรหรือถ้ามารดาเสีงชียวแล้วมีผูกปกรอง ให้ลงบัญชีทหารที่อำเภอท้องที่ที่มารดา หรือผู้ปกครอง มีภูมิลำเนาแล้วแต่กรณี แต่ถ้าไม่มีบุคคลดังกล่าว (บิดา มารดา ผู้ปกครอง)ให้ลงบัญชีทหารที่อำเภอท้องที่ที่นาย ก. มีภูมิลำเนาอยู่เนื่องจากทางราชการได้ให้ระยะเวลาในการลงบัญชีทหารไว้ตั้งแต่มกราคม ถึง ธันวาคม ในปีที่มีอายุย่างง ๑๘ ปี และในเดือนกันยายน ของทุกปี ทางอำเภอจะประกาศเตือนให้ผู้ที่ยังมิได้ ลงบัญชีทหารให้ไปลงบัญชีทหารให้เสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย ประกาศเช่นว่านี้จะปิดไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการกำนัน ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านและที่เปิดเผยตามชุมชน ในท้องที่นั้นกับนายอำเภอจะส่งประกาศให้กำนันผู้ใหญ่บ้าน เพื่อนำไปแจ้งให้ราษฎรในท้องที่ของตนทราบด้วย ถ้าผู้ใดไม่ไปลงบัญชีทหารกองเกินภายในกำหนด จะถูกดำเนินคดีอาญาฐานหลีกเลี่ยงขัดขืน มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าทางอำเภอได้ส่งรายชื่อไปให้เจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดีต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๓ เดือนหรือปรับไม่เกินสามร้อยบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ ๒. การลงบัญชีทหารกองเกินแทน ผู้ใดมีความจำเป็นไม่สามารถไปลงบัญชีทหารด้วยตนเองได้ต้อง ให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและเชื่อถือได้ไปแจ้งแทน โดยปกติจะเป็นบิดา มารดา หรือพี่ ซึ่งจะต้องเป็นกรณีที่กระชั้นวันหมดเขตระยะเวลาลงบัญชี(ประมาณเดือนธันวาคม) โดยมีความจำเป็นดังนี้

๒.๑ ป่วย ๒.๒ ไปอยู่ต่างประเทศยังไม่มีกำหนดกลับ หรือมีกำหนดกลับ หรือ มีกำหนดกลับแต่วันที่จะกลับเลยกำหนดเวลาการรลงบัญชีทหารกองเกินแล้ว ๒.๓ ไปศึกษาต่างท้องที่ไม่สามารถจะกลับไปได้เพราะติดการสอบไล่ บุคคลซึ่งยังมิได้ลงบัญชีทหารกองเกินตามระยะเวลาที่กำหนด ถ้าอายุยังไม่ถึง ๔๖ ปีบริบูรณ์ก็ต้องไปลงบัญชีทหารทุกคนตามกฏหมาย จะให้ผู้อื่นแจ้งแทนไมได้ ต้องไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารด้วยตนเองเพราะมีความผิดปกติขึ้นแล้ เมื่อได้ลงบัญชีทหารกองเกิอแล้วทางอำเภอจะออกใบสำคัญ(แบบ สด.๙) ให้ไว้เป็นหลักฐานต่อไป เมื่อมีประสงค์จะย้ายภูมิลำเนาทหาร ก็ย่อมทำได้ โดยแจ้งต่อนายอำเภอ (สัสดีอำเภอ) ท้องที่ที่ตนเองเข้ามาอยู่นั้น (โดยไม่ต้องแจ้งย้ายที่อำเภอเดิม) การแจ้งย้ายภูมิลำเนาทหารให้กระทำภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ย่ายทะเบียนเข้ามาอยู่ในท้องที่ใหม่โดยนำใบสำคัญ(แบบ สด.๙) หรือหนังสือสำคัญ (แบบ สด.๘) กับทะเบียนบ้านไปประกอบหลักฐานการแจ้งย้ายภูมิลำเนาทหารด้วย อนึ่ง ถ้าได้รับในอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล ให้นำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล พร้อมก้บใบสำคัญ (แบบ สด.๙) หรือ หนังสือสำคัญ(แบบ สด.๘) ไปแจ้งต่อนายอำเภอท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหาร ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตเพื่อแก้หลักฐานให้ถูกต้อง เมื่อได้ขึ้นทะเบียนทหารกองเกินแล้ว ถือว่าผู้นั้นมีภูมิลำเนาทหารอยู่ในอำเภอที่ได้ขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน
อธิบายศัพท์ - ภูมิลำเนาทหาร หมายความว่า อำเภอท้องที่ที่บุคคลนั้นได้แจ้งการลงบัญชีทหารกองเกินไว้ที่อำเภอแล้ว และบุคคลจะมีภูมิลำเนาทหารได้ เพืยงแห่งเดียวเท่านั้น - หทารกองเกิน หมายความว่า ผู้ซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบแปดปีบริบูรณ์และยังไม่ถึงสามสิบปีบริบูรณ์และยังไม่ถึงสามสิบปีบริบูรณ์ ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกิน (ขึ้นทะเบียนทหาร) แล้ว
ทหารกองเกินทุกคนเมื่อมีอายุย่างเข้า ๒๑ (อายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์) ใน พ.ศ. ใด ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเกณฑ์ที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของตน ภายใน พ.ศ.นั้น เช่น ทหารกองเกินเกิด พ.ศ.๒๕๒๑ ให้ไปแสดงตนรับหมายเกณฑ์ได้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๑ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาม ๒๕๔๑ ในเวลาราชการ เมื่อรับหมายเกณฑ์แล้ว จะต้องไปรับการตรวจเลือก (เกณฑ์) ในเดือนเมษายน ๒๕๔๒ ตามวัน เวลาและสถานที่ทีกำหนดไว้ในหมายเกณฑ์ หากไม่ไปจะถูกดำเนินคดีฐานหลีกเลี่ยงขัดขืน มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๓ ปี ๑. การออหมายเกณฑ์ หมายเกณฑ์นายอำเภอจะออกเฉพาะผู้ที่ได้ลงบัญชีเป็นทหารกองเกินแล้ว คือ ๑.๑ ผู้ที่มีอายุ ๒๑ ปีบริบูรณ์ ในปีที่จะเข้ากองประจำการ ๑.๒ ผู้ที่มีอายุ ๒๒-๒๙ ปีบริบูรณ์ ซึ่งต้องไม่เคยเข้าตรวจเลือก(เกณฑ์ทหาร) หรือเป็นคนหลีกเลี่ยง ไม่มารับการเกณฑ์ในปีก่อน ๆ(ศาลตัดสินลงโทษแล้ว) หรือพ้นจากฐานะการยกเว้น หรือผ่อนผัน หรือได้รับการผ่อนผันเนื่องจากเป็นนิสิต นักศึกษา นักเรียน หรือผู้ที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงบิดาหรือมารดา หรือบุตร หรือคณะกรรมการตรวจเลือกมีความเห็นว่าป่วยรักษาไม่หายภายใน ๓๐ วัน ในปีที่ผ่านมา ๒. การรับหมายเกณฑ์แทน ผู้ใดไม่สามารถจะไปรับหมายเรียกตนเองได้ ต้องให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและเชื่อถือได้ไปรับหมายเกณฑ์แทน ถ้าไม่มีให้ถือว่า ผู้นั้นหลีกเลี่ยงขัดขืน การรับแทนจะต้องเป็นกรณีใกล้วันหมดเขตรับหมายเกณฑ์(ประมาณเดือนธันวาคม) โดยมีความจำเป็น ดังนี้ ๒.๑ ป่วย ๒.๒ ไปอยู่ต่างประเทศยังไม่มีกำหนดกลับ หรือมีกำหนดกลับแต่วันที่จะกลับนั้นเลยกำหนดเวลาการรับหมายเกณฑ์แล้ว ๒.๓ ไปศึกษาต่างท้องที่ ไม่สามารถจะกลับไปได้เพราะติดการสอบไล่ การที่จะให้รับหมายเกณฑ์แทนหรือไม่นั้นอยู่ในดุลพินิจของนายอำเภอการรับหมายเกณฑ์แทน จะต้องมีหนังสือมอบหมายหรือมอบฉันทะของทหารกองเกินผู้นั้นถึงนายอำเภอโดยผู้รับแทนนำมาแสดง แล้วให้สัสดีอำเภอลงทะเบียนรับหนังสือ และให้ทางอำเภอทำการสอบสวนปากคำผู้รับแทนนั้นไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งผู้รับแทนจะต้องให้คำรับรองในการสอบสวนว่า จะมอบหมายเกณฑ์ที่รับไปนั้นนำไปมอบให้แก่ทหารกองเกินผู้นั้น พร้อมกับแจ้งวันเวลาและสถานที่เกณฑ์ทหารให้ทราบ แล้วเสนอนายอำเภอ ขออนุมัติก่อนมอบหมายเกณฑ์ให้รับไป ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ ทหารกองเกินผู้นั้นอ้างว่าไม่ได้รับหมายเกณฑ์ในกรณีที่หลีกเลี่ยงขัดขืน ไม่ไปเข้ารับการเกณฑ์ทหาร ๓. การจัดทำประกาศ ในเดือนตุลาคมทุกปี ทางอำเภอจะจัดทำประกาศให้ทหารกองเกินที่มีอายุย่างเข้า ๒๑ ปี ใน พ.ศ. นั้นไปแสดงตนเพื่อรับหมายเกณฑ์ที่ อำเภอ ประกาศเช่นว่านี้จะปิดไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการกำนัน ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน และที่เปิดเผยตามชุมชนในท้องที่นั้น กับนายอำเภอจะส่งประกาศให้กำนัน ผู้ใหญ้บ้านเพื่อนำไปแจ้งให้ราษฎรในท้องที่ของตนทราบด้วย ถ้าผู้ใดไม่ไปรับหมายเกณฑ์ตามกำหนดจะถูกดำเนินคดีอาญาฐานหลีกเลี่ยงขัดขืน มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับแต่ถ้าทางอำเภอได้ส่งรายชื่อไปให้เจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


กฏหมายการเลือกตั้ง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภาดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๑"
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พุทธศักราช ๒๔๘๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน


"มาตรา ๖ ระยะเวลารับสมัครเลือกตั้งจะต้องกำหนดไว้ไม่น้อยกว่าเจ็ดวันและไม่เกินสิบห้าวัน โดยกำหนดวันสุดท้ายของระยะเวลารับสมัครไว้ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสามสิบวัน"
มาตรา ๔ บทบัญญัติของมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พุทธศักราช ๒๔๘๒ ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดที่กำหนดระยะเวลารับสมัครเลือกตั้งและวันเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

กฏหมายพรรคการเมือง
ความสำคัญของพรรคการเมืองพรรคการเมืองถือว่าเป็นสถาบันทางการเมืองที่สำคัญในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนเนื่องจากพรรคการเมืองเป็นการรวมกลุ่มกันของบุคคลที่มีแนวคิด อุดมการณ์ทางการเมืองร่วมกัน มีสิ่งยึดเหนี่ยวทางการเมืองเช่นเดียวกันทำให้รวมกันจัดตั้งกลุ่มทางการเมืองขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนเสนอแนวคิดและ นโยบายทางการเมือง และส่งตัวแทนเข้าไปมีบทบาทในสภา องค์ประกอบที่สำคัญของพรรคการเมืองคือ สมาชิกพรรค ที่มาจากบุคคลที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่เหมือนกันและอาจจะมีผลประโยชน์ร่วมกันในบางกรณี โดยการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองที่สำคัญของพรรคการเมืองคือ การส่งสมาชิกพรรคลงรับสมัครเลือกตั้งเพื่อเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเข้าไปมีบทบาทในการพิจารณาออกกฎหมายที่จำเป็นและมีประโยชน์แก่ประชาชนในประเทศพรรคการเมืองจึงเป็นองค์กรทางการเมืองที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง ผ่านการเลือกสมาชิกพรรคเพื่อเข้าไปเป็นตัวแทนของประชาชน เพื่อทำหน้าที่ในการบริหารบ้านเมือง พิจารณาร่างกฎหมายต่าง ๆ และให้ความเห็นชอบในกฎหมายที่เห็นว่ามีประโยชน์แก่ประชาชนเพื่อให้พรรคการเมืองเป็นสถาบันที่มีความสำคัญและเป็นกลไกที่สำคัญของการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทย จึงได้มีการออกกฎหมาย "พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541" ขึ้นเพื่อกำหนดอำนาจหน้าที่และแนวทางในการดำเนินการทางการเมืองของพรรคการเมือง รวมถึงการควบคุมพรรคการเมืองให้ปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
หลักเกณฑ์การยุบพรรคการเมือง

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มีข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองตั้งแต่การจัดตั้งพรรคการเมือง การดำเนินกิจการทางการเมือง และการยุบเลิกพรรคการเมือง ในบทความนี้จะนำเสนอเกี่ยวกับการยุบเลิกพรรคการเมือง ซึ่งมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องหลายมาตรา อีกทั้งในสถานการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมาได้มีความเกี่ยวข้องกับการยุบเลิกพรรคการเมือง โดยการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้งในชุดก่อนที่มี พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ เป็นประธาน ได้ยื่นเรื่องให้แก่อัยการสูงสุดเพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคการเมือง 5 พรรค และเหตุการณ์ที่สำคัญต่อมาคือ การยึดอำนาจการปกครองเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากมาย ตั้งแต่การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และการประกาศยกเลิกกฎหมายบางข้อ ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้มีผลกระทบต่อการใช้กฎหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไปสำหรับการยุบพรรคการเมือง ได้กำหนดให้พรรคการเมืองที่ดำเนินการทางการเมืองสามารถเลิกหรือยุบพรรคการเมืองได้ หากไม่ดำเนินการตามที่ พรบ.พรรคการเมืองกำหนด ซึ่งแบ่งการเลิกหรือยุบพรรคออกเป็น 2 ลักษณะ คือลักษณะแรก (มาตรา65) พรรคการเมืองมีเหตุต้องเลิกหรือยุบพรรคการเมือง เนื่องจากไม่กระทำตามพรบ.พรรคการเมือง เช่น1. ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับพรรคการเมือง2. มีสมาชิกพรรคเหลือไม่ถึง 15 คน3. ไม่สามารถจัดหาสมาชิกพรรคได้ถึง 5,000 คนภายใน 180 วันหลังจากที่นายทะเบียนรับจดแจ้งพรรคการเมือง4. ไม่มีดำเนินกิจการทางการเมืองและไม่ส่งรายงานการดำเนินงานกิจการของพรรคการเมือง5. ไม่ส่งรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองนายทะเบียนพรรคการเมือง


(ประธานกรรมการการเลือกตั้ง) จะดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันพบเหตุดังกล่าว เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเห็นว่ามีเหตุดังกล่าวจริง จะมีคำสั่งให้ยุบพรรคโดยศาลรัฐธรรมนูญและนายทะเบียนต้องประกาศคำสั่งยุบพรรคลงในราชกิจจานุเบกษาลักษณะที่สอง (มาตรา 66) พรรคการเมืองอาจถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ยุบพรรคการเมืองได้เมื่อพรรคการเมืองกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ 1. กระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ2. กระทำการอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ3. กระทำการอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรือขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน4. ในกรณีที่พรรคการเมืองรับบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยโดยการเกิดเข้าเป็นสมาชิกหรือยอมให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อประโยชน์ของพรรคการเมือง และในกรณีที่พรรคการเมืองหรือสมาชิกพรรคการเมืองได้รับเงิน ทรัพย์สินจากผู้อื่นเพื่อกระทำการสนับสนุนการบ่อนทำลายความมั่นคงของสถาบันชาติ พระมหากษัตริย์ หรือก่อกวน คุกคามทำให้เกิดความไม่สงบหรือมีผลต่อประชาชนทั้งทางด้านศีลธรรม สุขภาพและทรัพยากรของประเทศ หรือมีการรับเงินสนับสนุนจากบุคคลหรือนิติบุคคลที่มีผู้จัดการ หรือกรรมการเป็นผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทย หรือเป็นผู้ถือหุ้นเกินร้อยละยี่สิบห้า และรวมไปถึงนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายต่างประเทศในกรณีนี้เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียนหรือนายทะเบียนได้รับแจ้งจากพรรคการเมืองใดๆ ที่เห็นว่ามีพรรคการเมืองกระทำผิดตามมาตรา 66 ให้นายทะเบียนส่งเรื่องพร้อมหลักฐานให้กับอัยการสูงสุดเพื่อสั่งฟ้องพรรคการเมืองนั้นๆ ต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาในการสั่งยุบพรรคต่อไป หากอัยการสูงสุดไม่ยื่นสั่งฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้จัดให้มีคณะทำงานขึ้นโดยมีตัวแทนจากประธานกรรมการการเลือกตั้งและอัยการสูงสุดร่วมกันรวบรวมข้อมูล หลักฐานเพื่อทำสำนวนส่งให้อัยการสูงสุดส่งฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญต่อไป ในกรณีที่คณะทำงานดังกล่าวไม่ สามารถหาข้อยุติในการพิจารณายื่นคำร้องได้ให้นายทะเบียนมีอำนาจยื่นคำร้องเอง (มาตรา 67)เมื่อมีการสั่งยุบพรรคโดยศาลรัฐธรรมนูญแล้วให้นายทะเบียนประกาศในราชกิจจานุเบกษาในช่วงระหว่างของการพิจารณายื่นเรื่องยุบพรรค หากนายทะเบียนต้องการให้พรรคการเมืองที่ถูกกล่าวหาระงับการดำเนินการที่เข้าข่ายมาตรา 66 ก็ให้นายทะเบียนยื่นเรื่องระงับการดำเนินการของพรรคการเมืองต่ออัยการสูงสุด เพื่อให้อัยการสูงสุดยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้มีคำสั่งระงับการดำเนินการของพรรคการเมืองนั้น ๆ ไว้ชั่วคราว (มาตรา 67)







วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กฏหมายแพ่งและกฎหมายอาญกฎหมายแพ่ง
คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล เช่น เรื่องสภาพบุคคล ทรัพย์ หนี้ นิติกรรม ครอบครัว และมรดก เป็นต้น การกระทำผิดทางแพ่ง ถือว่าเป็นการละเมิดต่อบุคคลที่เสียหายโดยเฉพาะไม่ทำให้ประชาชนทั่วไปเดือดร้อนอย่างการกระทำผิดอาญา กฎหมายพาณิชย์ คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเศรษฐกิจและการค้า โดยวางระเบียบเกี่ยวพันทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น การตั้งหุ้นส่วนบริษัท การประกอบการรับขน และเรื่องเกี่ยวกับตั๋วเงิน (เช่น เช็ค) กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจำนอง การจำนำ เป็นต้น ในปัจจุบันกฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ของประเทศไทย ได้บัญญัติรวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน เรียกชื่อว่า "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์" แบ่งออกเป็น 6 บรรพ คือ บรรพ 1 ว่าด้วยหลักทั่วไป บรรพ 2 ว่าด้วยหนี้ บรรพ 3 ว่าด้วยเอกเทศสัญญา บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สิน บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวและบรรพ 6 ว่าด้วยมรดก














เหตุที่ประเทศไทยมีการจัดทำประมวลกฎหมายโดยการนำเอากฎหมายแพ่งมารวมกับกฎหมายพาณิชย์เป็นฉบับเดียวคล้ายกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยไม่ได้แยกเป็นประมวลกฎหมายแพ่งเล่มหนึ่งและประมวลกฎหมายพาณิชย์อีกเล่มหนึ่งดังเช่นประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เพราะการค้าพาณิชย์ในขณะที่ร่างกฎหมายยังไม่เจริญก้าวหน้า อีกทั้ง หลักทั่วไปบางอย่างในกฎหมายแพ่งก็สามารถนำไปใช้กับกฎหมายพาณิชย์ได้ ความจำเป็นที่จะต้องแยกกฎหมายพาณิชย์ออกจากกฎหมายแพ่งโดยจัด





1. กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายเอกชนว่าด้วยเรื่องสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ ระหว่างเอกชนต่อเอกชน ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย กฎหมายแพ่งของไทยบัญญัติในรูปของประมวลกฎหมายรวมกับกฎหมายพาณิชย์ รวมเรียกว่า กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีสาระพอสังเขป ได้ดังนี้
1.1 บุคคล หมายถึง สิ่งซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย มี 2 ประเภท คือ บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล
1.1.1 บุคคลธรรมดา หมายถึง มนุษย์ซึ่งมีสภาพบุคคล และสิ้นสภาพบุคคลโดยการตายตามธรรมชาติ หรือตายโดยการสาบสูญ (กรณีปกติ 5 ปี และกรณีไม่ปกติ 2 ปี คือ อยู่ในระหว่างการรบสงคราม ประสบภัยในการเดินทาง เหตุอันตรายต่อชีวิต)
1.1.2 นิติบุคคล หมายถึง สิ่งที่กฎหมายรับรองให้เป็นสภาพบุคคลสมมุติ ให้มีสิทธิหน้าที่เหมือนบุคคลธรรมดา แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
ก) นิติบุคคลตามประมวลกกหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่
1) กระทรวง ทบวง กรม
2) วัดวาอาราม ที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสงฆ์
3) ห้างหุ้นส่วนที่ได้จดทะเบียนแล้ว
4) บริษัทจำกัด
5) มูลนิธิ สมาคม

ข) นิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ได้แก่ นิติบุคคลที่มีกฎหมายพิเศษรับรองสถานะ เช่น พรรคการเมือง รัฐวิสาหกิจ สหกรณ์1.2 ทรัพย์ กฎหมายได้แยกลักษณะของทรัพย์สินออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ







1.2.1 สังหาริมทรัพย์ ได้แก่
ก) ทรัพย์ทั้งหลายอันอาจเคลื่อนที่ได้ จากที่แห่งหนึ่งไปแห่งอื่น ไม่ว่าเคลื่อนด้วยแรงเดินแห่งตัวทรัพย์นั้นเอง หรือ ด้วยกำลังภายนอก เช่น
1) เคลื่อนที่ด้วยแรงของทรัพย์นั้นเอง เช่น หมู ช้าง วัว ควาย ฯลฯ
2) เคลื่อนด้วยกำลังภายนอก เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ โต๊ะ เก้าอี้ ฯลข)
กำลังแรงแห่งธรรมชาติอันอาจถือเอาได้ เช่น ก๊าซ กระแสไฟฟ้า ค) สิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์นั้นด้วย เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิจำนำ สิทธิจำนอง สิทธิเครื่องหมายการค้า ฯลฯ 1.2.2 อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ 1) ที่ดิน 2) ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินนั้น เช่น ตึก โรงเรือน บ้าน ไม้ยืนต้นต่างๆ ฯลฯ 3) ทรัพย์อันประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน เช่น หิน กรวด ทราย 4) สิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เช่น สิทธิครอบครอง สิทธิจำนอง กรรมสิทธิ์ในที่ดิน




1.3 นิติกรรม หมายถึง การกระทำใดๆ ที่ชอบด้วยกฎหมายและใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ การแสดงเจตนาของนิติกรรมอาจจะแสดงด้วยวาจา ลายลักษณ์อักษร หรือการนิ่งก็ได้ นิติกรรมแม้จะทำด้วยใจสมัคร ก็มีข้อบกพร่อง ถ้ากฎหมายเข้าไปควบคุมและไม่อนุญาตให้ทำ โดยมี 2 ลักษณะ1. โมฆะกรรม หมายถึง การกระทำใดๆ ลงไป โดยเสียเปล่า ไม่มีผลผูกพันธ์ใดๆ ได้แก่1.1 นิติกรรมที่ต้องห้ามโดยกฎหมายชัดแจ้ง เช่น ทำสัญญาจ้างให้กระทำผิดกฎหมาย จ้างฆ่าคน1.2 นิติกรรมเป็นการพ้นวิสัย เช่น ทำสัญญาซื้อขายดวงอาทิตย์1.3 นิติกรรมที่เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน1.4 นิติกรรมผิดแบบ เช่น การทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ การเช่าซื้อต้องทำหนังสือ หากไม่ปฏิบัติก็ตกเป็นโมฆะ2. โมฆียกรรม หมายถึง นิติกรรมที่มีผลต่อคู่กรณี แต่ไม่สมบูรณ์โดยกฎหมาย เนื่องจากความสามารถของผู้กระทำนิติกรรม เช่น ผู้เยาว์ ผู้เสมือนไร้ความสามารถ ผู้ไร้ความสามารถ เป็นต้น หากมีการให้การรับรอง นิติกรรมนั้นก็สมบูรณ์ หรือ บอกล้างได้ภายใน 10 ปี ก็จะตกเป็นโมฆะกรรม1.4 สัญญา เป็นนิติกรรมชนิดหนึ่ง สัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องมีคู่สัญญาถูกต้องตามสาระสำคัญ และมีวัตถุประสงค์ไม่ต้องห้ามตามกำหมาย หรือขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ได้แก่



1.4.1 สัญญากู้ยืมเงิน
การกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาท ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้ยืม จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ 1.4.2 สัญญาซื้อขาย สัญญาซื้อขาย คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ซื้อ โดยผู้ซื้อตกลงจะชำระราคาทรัพย์สินให้แก่ผู้ขาย หากพูดถึงการซื้อขาย ก็จะต้องกล่าวถึง สัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งส่วนให้จะทำสัญญากันก่อน ก่อนซื้อขายส่งมอบทรัพย์สินกันจริง หลักเกณฑ์พิจารณาได้ดังนี้



สัญญาจะขายหรือจะซื้อ หรือคำมั่นในการซื้อขาย ทรัพย์สินประเภท อสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ อย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางเงินมัดจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ และกฎหมายยังบังคับถึง สัญญาซื้อขาย สังหาริมทรัพย์ ที่มีราคาตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไปด้วย ที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ สัญญาซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (พนักงานที่ดิน) หากไม่ทำถือว่าเป็นโมฆะ

1.4.3 สัญญาขายฝาก
สัญญาขายฝาก หมายถึง สัญญาซื้อขายที่ผู้ขาย มีสิทธิไถ่ถอนได้ทรัพย์คืนตามเวลาที่กำหนด หากไม่ไถ่ถอนภายในกำหนด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น ก็จะตกไปยังผู้ซื้อนับตั้งแต่เวลาที่ทำสัญญากัน 1.4.4 สัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อ หมายถึง สัญญาที่เจ้าของทรัพย์ เอาทรัพย์ออกให้เช่า และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือให้ทรัพย์สินนั้นแก่ผู้เช่า โดยมีเงื่อนไข ว่าต้องชำระเงินครบตามคราวที่กำหนด และที่สำคัญ สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ มิฉะนั้นถือเป็นโมฆะ เจ้าของทรัพย์บอกเลิกสัญญาได้ ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่า 2 งวดติดต่อกัน หรือผู้เช่าซื้อผิดสัญญาในข้อที่เป็นสาระสำคัญ โดยผู้ให้เช่าซื้อได้เงินค่าเช่าที่ชำระไปแล้วทั้งหมดและเรียกทรัพย์คืนได้

1.4.5 สัญญาจำนอง สัญญาจำนอง หมายถึง สัญญาที่ผู้จำนองเอาทรัพย์สิน ประเภท อสังหาริมทรัพย์ เรือ แพ หรือ เครื่องจักร ไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ ลักษณะสำคัญของสัญญาจำนอง
1. ผู้จำนองต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ที่จำนอง
2. ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่
3. ผู้จำนองจะนำทรัพย์สินที่ติดจำนองไปจำนองแก่ผู้อื่นอีกในระหว่างที่สัญญาจำนองอันแรกยังมีอายุอยู่ก็ได้

1.4.6 สัญญาจำนำ สัญญาจำนำ หมายถึง สัญญาที่ผู้จำนำ ส่งมอบทรัพย์สินประเภท สังหาริมทรัพย์ แก่ผู้รับจำนำและตกลงว่าจะมาไถ่ถอนตามวันและเวลาที่กำหนด หากไม่มาไถ่ถอน ผู้รับจำนำมีสิทธิในทรัพย์สินนั้น
1.4.7 สัญญาค้ำประกัน สัญญาค้ำประกัน หมายถึง การที่ผู้ค้ำประกันทำสัญญากับเจ้าหนี้ว่า เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แล้ว ตนจะชำระหนี้แทน สัญญาค้ำประกัน ต้องทำเป็นหนังสือ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้1.5 ครอบครัว

1.5.1 การหมั้น หมายถึง การที่ฝ่ายชาย ตกลงกับฝ่ายหญิง ว่าจะสมรสกับหญิงนั้น โดยมีของหมั้นเป็นประกัน สาระสำคัญของการหมั้น

1. การหมั้นนั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ผู้เยาว์จะทำการหมั้นต้องได้รับความยินยอมจากบิดา มารดาหรือผู้ปกครอง
2. ถ้าหมั้นแล้วสมรส ของหมั้นจะกลายเป็นสินส่วนตัวของฝ่ายหญิง
3. ถ้าหมั้นแล้วไม่สมรส
3.1 เนื่องจากความผิดของฝ่ายชาย ฝ่ายหญิงยึดของหมั้นได้
3.2 เนื่องจากความผิดของฝ่ายหญิง หญิงต้องคืนของหมั้นให้ฝ่ายชาย ชายเรียกสินสอดคืนได้
3.3 ฝ่ายที่เสียหายเรียกค่าทดแทนได้
3.4 จะฟ้องให้ศาลบังคับให้มีการสมรสไม่ได้













































































































































วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

ชิ้นงานที่ 12 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3
เรื่อง การจัดระเบียบราชการแผ่นดิน
การจัดระเบียบราชการแผ่นดิน
ประเทศทุกประเทศจะต้องจัดการเรื่องระเบียบการปกครอง การบริหารงานระหว่างรัฐกับประชาชน เพื่อให้เกิดความสงบสุขและความสะดวกให้แก่ประชาชน รัฐจึงออกกฎหมายการปกครองออกมาใช้บังคับประชาชน
ความหมายของกฎหมายการปกครองในที่นี้ หมายถึง กฎหมายที่วางระเบียบการบริหารภายในประเทศ โดยวิธีการแบ่งอำนาจการบริหารงานตั้งแต่สูงสุดลงมาจนถึงระดับต่ำสุด เป็นการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของราชการผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหาร
โดยหลักทั่วไปทางวิชาการกฎหมายการปกครอง ได้จัดระเบียบการปกครองประเทศหรือที่เรียกว่า จัดระเบียบราชการบริหาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization)
การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization)
การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization) หมายถึง การจัดระเบียบการปกครอง โดยรวมอำนาจการปกครองทั้งหมดไว้ที่ส่วนกลาง พนักงานเจ้าหน้าที่ในส่วนกลางและต่างจังหวัดไดรับการแต่งตั้งถอดถอนและบังคับบัญชาจากส่วนกลางเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่ส่วนกลางกำหนดขึ้น เช่น การปกครองที่แบ่งส่วนราชการออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด เป็นต้น
การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization) หมายถึง การจัดระเบียบการ ปกครองโดยวิธีการยกฐานะท้องถิ่นหนึ่งขึ้นเป็นนิติบุคคลแล้วให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการปกครองตนเองอย่างอิสระโดยการบริหารส่วนกลางจะไม่เข้ามาบังคับบัญชาใด ๆ นอกจากคอยดูแลให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ภายในขอบเขตของกฎหมายจัดตั้งท้องถิ่นเท่านั้น เช่น การปกครองของเทศบาลในจังหวัดต่าง ๆ เทศบาลกรุงเทพมหานคร หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น
กฎหมายการปกครองที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย ได้ใช้รูปแบบการปกครอง ทั้งประเภทที่กล่าวมาแล้ว คือ ใช้ทั้งแบบรวมอำนาจและกระจายอำนาจ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการปฎิบัติงานของราชการ ให้มีสมรรถภาพ การกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆให้ชัดเจน เพื่อมิให้มีการปฎบัติงานที่ซ้ำซ้อนระหว่างส่วนราชการต่างๆและเพื่อให้การบริหารในระดับต่างๆมีเอกภาพสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาลกำหนดได้ดี
ดังนั้น รัฐบาลจึงออกกฎหมายการปกครองขึ้นมา คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และฉบับที่ 5 พ.ศ.2545และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พอสรุปดังนี้
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน คือ กติกาที่ยอมรับเป็นบรรทัดฐาน เพื่อให้การบริหารราชการมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีที่มาจากแหล่งต่าง ๆ อันได้แก่ ขนบธรรม-เนียมการปกครอง รัฐธรรมนูญและความจำเป็นในการบริหารงานเพื่อแก้ไขสถานการณ์การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
การบริหารราชการส่วนกลาง
การบริหารราชการส่วนกลางหมายถึง หน่วยราชการจัดดำเนินการและบริหารโดยราชการของ ส่วนกลางที่มีอำนาจในการบริหารเพื่อสนองความต้องการของประชาชน จะมีลักษณะการปกครองแบบรวมอำนาจ หรือมีความหมายว่า เป็นการรวมอำนาจในการสั่งการ การกำหนดนโยบายการวางแผน การควบคุมตรวจสอบ และการบริหารราชการสำคัญ ๆ ไว้ที่นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีและกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ตามหลักการรวมอำนาจ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง จัดแบ่งออกได้ดังนี้
สำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวง หรือทบวงที่มีฐานะเทียบเท่า กระทรวง
ทบวง สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
การจัดตั้ง ยุบ ยกเลิก หน่วยงาน ตามข้อ 1- 4 ดังกล่าวนี้ จะออกกฎหมายเป็น พระราชบัญญัติและมีฐานะเป็นนิติบุคคล
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้จัดแบ่ง กระทรวง และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง รวม 20 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเทคนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธรณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นกระทรวง อยู่ภายใต้การปกครองบังคับบัญชาของนากยรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นเครี่องของนากยรัฐมนตรีในเรื่องที่เป็นหัวใจของการบิหารราชการหรือเกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี กิจการเกี่ยวกับการทำงบประมาณแผ่นดินและราชการอื่น ตามที่ได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักนายกรัฐมนตรี หรือส่วนราชการซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือส่วนราชการอื่น ๆ ซึ่งมิได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งโดยเฉพาะ
สำนักนายกรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของสำนักนายกรัฐมนตรีให้สอดคล้องกันนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี และจะให้มีรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีหรือทั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติก็ได้
กระทรวง หมายถึง ส่วนราชการที่แบ่งออกเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ที่สุด รับผิดชอบงานที่กำหนดในพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งทำหน้าที่จัดทำนโยบายและแผน กำกับ เร่งรัด และติดตามนโยบาย และแผนการปฏิบัติราชการกระทรวง จะจัดระเบียบบริหารราชการโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีสำนักนโยบายและแผนเป็นส่วนราชการภายในขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
กระทรวงหนึ่งๆมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนัมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกระทรวง และจะให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้ ให้มีปลัดกระทรวงมีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมราชการประจะในกระทรวง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการประจำในกระทรวงจากรับมนตรี โดยมีรองปลัดกระทรวงหรือผู้ช่วยปลัดกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งการและปฏิบัติราชการแทน การจัดระเบียบราชการของกระทรวง ดังนี้
(1) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น เว้นแต่บางทบวงเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกรมก็ได้
ทบวง เป็นหน่วยงานที่เล็กกว่ากระทรวง แต่ใหญ่กว่า กรม ตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 25 ว่า ราชการส่วนใดซึ่งโดยสภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นกระทรสงหรือทบวง ซึ่งเทียบเท่ากระทรวงจะจัดตั้งเป็นทบวงสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงเพื่อให้มีรัฐมนตรีว่าการทบวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและมีรัฐมนตรีช่วยว่าการทบวงและมีปลัดทบวง ซึ่งรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของทบวงก็ได้และมีอำนาจหน้าที่กำหนดไว้ในกฏหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม การจัดระเบียบราชการในทบวง มีดังนี้
(1) สำนักเลขานุการรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดทบวง
(3) กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นให้ส่วนราชการตาม (2) (3) มีฐานะเป็น กรม
กรม หมายถึง เป็นส่วนราชการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงหรืออาจเป็นส่วนราชการอิสระไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงอยู่ใต้การบังคับบัญชา ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการทรวงคนใดคนหนึ่งให้แบ่งส่วนราชการดังนี้
(1) สำนักงานเลขานุการกรม
(2) กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง เว้นแต่บางกรมเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกองก็ได้
กรมใดมีความจำเป็น จะแบ่งส่วนราชการโดยให้มีส่วนราชการอื่นนอกจาก (1) หรือ (2) ก็ได้ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา กรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการส่วนใดส่วนหนึ่งของกระทรวง หรือทบวงหรือทบวงตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของกรมหรือตามกฏหมายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกรมนั้น
กรมมีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ให้เป็นไปตามนโยบายแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง และในกรณีที่มีกฏหมายอื่นกำหนดอำนาจหน้าที่ของอธิบดีไว้เป็นการเฉพาะ การอำนาจและการปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายดังกล่าวให้คำนึงถึงนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง
ปัจจุบันมีส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงหรือทบวง มี 9 ส่วนราชการมีฐานะเป็นกรม คือ สำนักพระราชวัง สำนักราชเลขาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ราชบัณฑิตยสถานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและสำนักงานอัยการสูงสุดอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
การปฏิบัติราชการแทน อำนาจในการสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติการปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการใดที่ผู้ดำดงตำแหน่งใดพึงปฏิบัติตามกฎหมาย ถ้ากฎหมายมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้ ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่น ปฏิบัติราชการแทนได้ดังตัวอย่าง
1. นายกรัฐมนตรีมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาจมอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้รับมอบจะมอบต่อไปไม่ได้เว้นแต่ผู้ว่าราชการจัวหวัดจะมอบต่อในจังหวัด อำเภอก็ได้
การรักษาราชการแทน ผู้ที่ได้รับอำนาจจะมีอำนาจเต็มตามกฎหมายทุกประการ ตัวอย่าง
1.นายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการไม่ได้ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงรักษาราชการแทน
2. ไม่มีปลัดกระทรวงหรือมี แต่มาปฏิบัติราชการไม่ได้ ให้รองปลัดฯ ข้าราชการไม่ต่ำกว่าอธิบดีรักษาราชการแทน
3. ไม่มีอธิบดีหรือมีแต่มาปฏิบัติราชการไม่ได้ ให้รองอธิบดี ผู้อำนวยการกองรักษาราชการแทน เป็นต้น
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค
การบริหารราชการส่วนภูมิภาคหมายถึง หน่วยราชการของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ซึ่งได้แบ่งแยกออกไปดำเนินการจัดทำตามเขตการปกครอง โดยมีเจ้าหน้าที่ของทางราชการส่วนกลาง ซึ่งได้รับแต่งตั้งออกไปประจำตามเขตการปกครองต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคเพื่อบริหารราชการภายใต้การบังคับบัญชาของราชการส่วนกลางโดยมีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิดเพราะถือเป็นเพียงการแบ่งอำนาจการปกครองออกมาจากการบริหารส่วนกลาง
การบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นการบริหารราชการตามหลักการแบ่งอำนาจโดยส่วนกลางแบ่งอำนาจในการบริหารราชการให้แก่ภูมิภาค อันได้แก่จังหวัด มีอำนาจในการดำเนินกิจการในท้องที่แทนการบริหารราชการส่วนกลาง
ลักษณะการแบ่งอำนาจให้แก่การบริหารราชการส่วนภูมิภาค หมายถึง การมอบอำนาจในการตัดสินใจ วินิจฉัย สั่งการให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ไปประจำปฏิบัติงานในภูมิภาค เจ้าหน้าที่ในว่าในภูมิภาคให้อำนาจบังคับบัญชาของส่วนกลางโดยเฉพาะในเรื่องการแต่งตั้งถอดถอนและงบประมาณซึ่งเป็นผลให้ส่วนภูมิภาคอยู่ใการควบคุมตรวจสอบจากส่วนกลางและส่วนกลางอาจเรียกอำนาจกลับคืนเมื่อใดก็ได้
ดังนั้นในทางวิชาการเห็นว่าการปกครองราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจึงเป็นการปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค จัดแบ่งออกได้ดังนี้
1. จังหวัด เป็นหน่วยราชการที่ปกครองส่วนภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด มีฐานะเป็นนิติบุคคลประกอบขึ้นด้วยอำเภอหลายอำเภอหลาย อำเภอ การตั้ง ยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นกฎหมายพระราชบัญญัติ
ในจังหวัดหนึ่ง ๆ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง และกรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชนและเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในบรรดาข้าราชการฝ่านบริหารส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ อาจจะมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือ ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งสังกัดกระทรวงมหาดไทย
ผู้ว่าราชการจังหวัด มีคณะปรึกษาในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้นเรียกว่า คณะกรมการจังหวัดประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด รองผู้บังคับการตำรวจซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหรือผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด แล้วแต่กรณีและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงและทบวงต่าง ๆ เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจำอยู่ในจังหวัด กระทรวง และทบวงละหนึ่งคนเป็นกรมการจังหวัด และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ
ให้แบ่งส่วนราชการของจังหวัด ดังนี้
(1) สำนักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปและการวางแผนพัฒนาจังหวัดของจังหวัดนั้นมีหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานจังหวัด
(2) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้นๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้นๆเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
2. อำเภอ เป็นหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาครองจากจังหวัด แต่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลเหมือนจังหวัด การจัดตั้ง ยุบเลิกและเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอ กระทำได้โดยตราเป็น พระราชกฤษฎีกา มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอำเภอ และรับผิดชอบการบริหารราชการของอำเภอ นายอำเภอสังกัดกระทรวงมหาดไทย และให้มีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอซึ่งกระทรวงต่าง ๆส่งมาประจำให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ การแบ่งส่วนราชการของอำเภอ มีดังนี้
(1) สำนักงานอำเภอ มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของอำเภอนั้น ๆ มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบ
(2) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรมได้ตั้งขึ้นในอำเภอนั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวงกรมนั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ

การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นหมายถึง กิจกรรมบางอย่างซึ่งรัฐบาลได้มอบหมายให้ท้องถิ่นจัดทำกันเอง เพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ โดยเฉพาะโดยมีเจ้าหน้าที่ซึ่งราษฎรในท้องถิ่นเลือกตั้งขึ้นมาเป็นผู้ดำเนินงานโดยตรงและมีอิสระในการบริหารงาน
อาจกล่าวได้ว่าการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการบริหารราชการตามหลักการกระจายอำนาจ กล่าวคือ เป็นการมอบอำนาจให้ประชาชนปกครองกันเอง เพื่อให้ประชาชนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และรู้จักการร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นการแบ่งเบาภาระของส่วนกลาง และอาจยังประโยชน์สุขให้แก่ประชาชนในท้องที่ได้มากกว่า เพราะประชาชนในท้องถิ่นย่อมรู้ปัญหาและความต้องการได้ดีกว่าผู้อื่น
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีดังนี้
องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เทศบาล
สุขาภิบาล
ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด ได้แก่ สภาตำบลองค์การบริหารตำบลกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา

องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดที่อยู่นอกเขตเทศบาลและสุขาภิบาล มีฐานะเป็นนิติบุคคล ดำเนินกิจการส่วนจังหวัดแยกเป็นส่วนต่างหากจากการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในรูปของจังหวัด ในจังหวัดหนึ่งจะมีองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง
องค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วย
สภาจังหวัด
ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้ดำเนินกิจการส่วนจังหวัด เทศบาล

เป็นองค์การทางการเมืองที่ดำเนินกิจการอันเป็นผลประโยชน์ของประชาชนในเขตท้องถิ่นนั้น ๆ การจัดตั้งเทศบาลทำได้โดยการออกพระราชกฤษฎีกายกท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นเทศบาลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แบ่งเทศบาลออกเป็น
1. เทศบาลตำบล เทศบาลประเภทนี้ไม่ได้กำหนดกฎเกณฑ์การจัดตั้งไว้โดยเฉพาะ แต่อยู่ในดุลยพินิจของรัฐ
2. เทศบาลเมืองได้แก่ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดหรือท้องถิ่นชุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ หนึ่งหมื่น คนขึ้นไป โดยมีความหนาแน่นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร
3. เทศบาลนครได้แก่ท้องถิ่นที่มีประชาชนตั้งแต่ ห้าหมื่นคน ขึ้นไป และมีความหนาแน่นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันมีเทศบาลนครเพียงแห่งเดียว คือ เทศบาลนครเชียงใหม่
องค์ประกอบของเทศบาล ประกอบด้วย
1. สภาเทศบาล ประกอบด้วยสมาชิกที่ประชาชนเลือกตั้งขึ้นมาเป็นผู้แทน ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของคณะเทศมนตรี
2. คณะเทศมนตรี ทำหน้าที่บริหารกิจการของเทศบาล มีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า การแต่งตั้งคณะเทศมนตรีกระทำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเป็นคณะเทศมนตรี ด้วยความเห็นชอบของสภาเทศบาล
3. พนักงานเทศบาล เป็นผู้ปฏิบัติงานของเทศบาล โดยมีปลัดเทศบาลเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในงานทั่วไปของเทศบาล
องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) คือ หน่วยการปกครองท้องถิ่นที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการส่วนท้องถิ่นโดยประชาชนมีอำนาจตัดสินใจในการบริหารงานของตำบลตามที่กฏหมายกำหนดไว้
อบต. ประกอบด้วย
1. สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมี กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านและแพทย์ประจำตำบล ราษฎรหมู่บ้านละ 2 คน
2. คณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 2 คนเลือกจากสมาชิกองค์การฯอีก 4 คน ประธานกรรมการบริหารและเลขานุการกรรมการบริหาร
อบต. มีหน้าที่ต้องทำในเขตอบต. ดังนี้
(1) ให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
(2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(3) ป้องภัยโรคและระงับโรคติดต่อ
(4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
(6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ
(7) คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(8) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปพิเศษ
นอกเหนือจากหลักการโดยทั่วไปของการจัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในรูปที่กล่าวมาแล้ว รัฐบาลได้จัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเพื่อให้เหมาะสมกับความสำคัญทางสังคมและเศรษฐกิจของชุมชนเฉพาะแห่ง ปัจจุบันมีการจัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปพิเศษ 2 แห่ง คือ
การบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
การบริหารราชการเมืองพัทยา
การบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 กำหนดให้กรุงเทพมหานครประกอบด้วย
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
สภากรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารกรุงเทพมหานคร มีผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร 1 คน และรองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ไม่เกิน 4 คน ทั้งผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการ กทม. เป็นข้าราชการการเมือง และได้รับเลือกตั้งจากประชาชนในกรุงเทพมหานคร
สภา กทม. ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ควบคุมการบริหารราชการของผู้ว่าราชการ กทม. สภา กทม. ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน โดยถือเกณฑ์จำนวนประชาชน 1 แสนคนต่อสมาชิก 1 คน
ปลัดกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายกำหนด และตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรับผิดชอบดูแลราชการประจำของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของกรุงเทพมหานคร
การบริหารราชการเมืองพัทยา
จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 เมืองพัทยามีฐานะเป็นนิติบุคคล ประกอบด้วย
สภาเมืองพัทยาประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท คือ สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน จำนวน 9 คน และสมาชิกจากการแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จำนวน 8 คนสภาเมืองพัทยา จะเลือกสมาชิกคนใดคนหนึ่งเป็นนายกเมืองพัทยา สภาเมืองพัทยาทำหน้าที่ด้านนโยบายและแผนการดำเนินงาน และควบคุมการปฏิบัติงานประจำของเมืองพัทยา

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ชิ้นงานที่ 10 ของนักเรียนชั้นมัธยมสึกษาปีที่ 4/3
เรื่อง รัฐบาลไทย ( คณะรัฐมนตรี )
รัฐบาลไทย คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี (อังกฤษ: Cabinet) มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย อันประกอบด้วย หัวหน้าคณะ 1 คน ซึ่งมักเรียกว่า นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอื่น ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ โดยมีนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยมี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (3 สิงหาคม พ.ศ. 2507 — ) นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 และคนปัจจุบันของประเทศไทย และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2535 ภายหลังการก่อรัฐประหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ขณะมีอายุได้เพียง 27 ปี เขาถูกจัดอันดับเป็นนักการเมืองแถวหน้าของพรรคอย่างรวดเร็ว แต่แพ้การเลือกตั้งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในปี พ.ศ. 2544 นายอภิสิทธิ์ได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์หลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี พ.ศ. 2548
ระหว่างวิกฤตการณ์การเมืองในไทย ราว พ.ศ. 2548-2549 นายอภิสิทธิ์ได้เสนอแนวคิด จนกลายเป็นข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเกี่ยวกับการทูลเกล้าขอ "นายกรัฐมนตรีพระราชทาน" จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ให้ดำรงตำแหน่งแทน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ต่อมาได้มีกระแสพระราชดำรัสต่อคณะผู้พิพากษาใจความตอนหนึ่งว่า "...เขาอยากจะได้นายกฯ พระราชทาน เป็นต้น จะขอนายกฯ พระราชทาน ไม่ใช่เป็นเรื่องการปกครองแบบ





ประชาธิปไตย..."[2][3] ภายใต้การบริหารพรรคของนายอภิสิทธิ์ สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์อาวุโสกล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ ว่าเป็นผู้สมคบคิดแผนฟินแลนด์ เพื่อล้มล้างราชวงศ์จักรี และก่อตั้งสาธารณรัฐ นายอภิสิทธิ์ได้เคยตัดสินใจคว่ำบาตรการเลือกตั้ง พ.ศ. 2549 โดยไม่ส่งสมาชิกพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจาก[4] นายอภิสิทธิ์แสดงความไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ซึ่งโค่นล้มรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ แต่ไม่ได้ใช้วิธีต่อต้านแบบเดียวกับกลุ่ม นปช ในปี พ.ศ. 2550 พรรคประชาธิปัตย์ได้ถูกกล่าวหาว่ารับสินบนจากพรรคอื่น ๆ ให้คว่ำบาตรการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2549 ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินว่านายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความผิด และตัดสินให้ยุบพรรคไทยรักไทยในข้อหาเดียวกัน อภิสิทธิ์สนับสนุนรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 โดยกล่าวว่าเป็นการปรับปรุงจากรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540[5] พรรคประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2550 ให้แก่พรรคพลังประชาชน
ในเหตุการณ์การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย สมาชิกประชาธิปัตย์บางคนกลายเป็นแกนนำของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ซึ่งยึดทำเนียบรัฐบาล, ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ขณะที่มีการปะทะกันระหว่าง พธม. กับตำรวจและกลุ่มต่อต้านอย่างรุนแรง นายอภิสิทธิ์แสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับการกระทำนี้ การปิดล้อมดังกล่าวได้ยุติลงภายหลังคำวินิจฉัยคดียุบพรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาลอีก 2 พรรค ผู้บัญชาการทหารบกและหนึ่งในคณะก่อการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ถูกกล่าวหาว่าได้บีบบังคับให้สมาชิกพรรคพลังประชาชนหลายคน รวมทั้งกลุ่มเพื่อนเนวิน ให้มาสนับสนุนอภิสิทธิ์ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[6][7]



นายอภิสิทธิ์เป็นผู้นำประเทศระหว่างวิกฤตการณ์การเงินโลก และเผชิญหน้ากับความตึงเครียดทางการเมืองในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น ระหว่างเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2552 กลุ่มผู้ประท้วง แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้เข้าขัดขวางการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออกครั้งที่ 4[8] รวมทั้งเกิดการประท้วงอย่างรุนแรงในกรุงเทพมหานคร นายอภิสิทธิ์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เซ็นเซอร์สื่อ และสั่งการให้ทหารสลายการชุมนุมของผู้ประท้วง สมาชิกของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์มีส่วนเกี่ยวข้องในความพยายามสังหารแกนนำ พธม. นายสนธิ ลิ้มทองกุล ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะกล่าวโทษ พ.ต.ท.ทักษิณ[9][10][11] นายอภิสิทธิ์ให้ความสำคัญสูงสุดในการเซ็นเซอร์และฟ้องร้องบุคคลผู้ตั้งคำถามต่อบทบาทของสภาองคมนตรีไทย และพระมหากษัตริย์ในทางการเมือง อย่างไรก็ตาม เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์จาก พล.อ.อ.กำธน สินธวานนท์ องคมนตรี ว่า อภิสิทธิ์ตอบโต้เกี่ยวกับข้อกล่าวหาหมิ่นประมาทช้าเกินไป[12] จากรายงานปี พ.ศ. 2553 Human Rights Watch ได้ชมเชยอภิสิทธิ์ว่าเป็นคนที่มีวาทศิลป์ในการพูด แต่แย้งกลับในบันทึกของเขาว่า "รัฐบาลละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลจากการดำเนินคดีตามกฎหมายในประเทศไทย"[13]
การทุจริตเกิดขึ้นในรัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์หลายกรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายวิฑูรย์ นามบุตร ลาออก หลังจากจัดหาปลากระป๋องเน่าให้กับผู้ประสบอุทกภัย[14] ส่วนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายวิทยา แก้วภราดัย มีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริตในการจัดซื้ออุปการณ์ทางการแพทย์เกินราคาในโครงการ ไทยเข้มแข็ง จึงได้ประกาศลาออก[15] นายอภิสิทธิ์ยังเผชิญกับความตึงเครียดซึ่งเพิ่มมากขึ้นจากประเทศกัมพูชา ในหลายประเด็น รวมทั้งการแต่งตั้งแกนนำ พธม. นายกษิต ภิรมย์ อันเป็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ การปะทะตามแนวชายแดนบริเวณเขาพระวิหาร และการแต่งตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจให้กับรัฐบาลกัมพูชา




เศรษฐกิจ
โครงการ
หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอทอป OTOP)
กองทุนหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท เพื่อปล่อยกู้ให้ชาวบ้านนำไปลงทุนทำงานสร้างรายได้
การเซ็นสัญญา
เขตการค้าเสรี (FTA) กับสาธารณรัฐประชาชนจีน
การเซ็นสัญญาเขตการค้าเสรีกับ
นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย
ลดหนี้สาธารณะ จาก 57% ของ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ในปี พ.ศ. 2544 เหลือ 41% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2549[1][2]
[
แก้] สาธารณสุข
โครงการ
สามสิบบาทรักษาทุกโรค
[
แก้] การเกษตร
โครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อย เป็นเวลา 3 ปี
โครงการ
โคล้านครอบครัว ของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน
นโยบายปล่อยราคา
ยางพาราให้เป็นไปตามกลไกตลาด โดยราคายางพาราในสมัยนั้น เพิ่มขึ้นจาก 18 บาท ขึ้นสูงสุดเป็น 80 บาท และลดต่ำลงเหลือ 50-55 บาท มีนักวิเคราะห์กล่าวว่า การปล่อยราคา มีผลดีต่อราคา มากกว่าการแทรกแซง



โครงการกล้ายางพารา สืบเนื่องจากราคายางพาราที่สูงขึ้น นายเนวิน ชิดชอบ จึงเสนอโครงการดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี โดยนำยางพาราจากภาคใต้ ไปปลูกที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพืช จำกัด ได้รับสัมปทานในการจัดหากล้ายาง โดยหลังจาก รัฐประหาร 19 กันยายน มีข้อกล่าวหาว่า กล้ายางในโครงการไม่ได้คุณภาพ ซึ่ง คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ[4]
[
แก้] การจัดงานและการท่องเที่ยว
เป็นเจ้าภาพจัด
งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ในส่วนรัฐพิธี และได้กราบบังคมทูลเชิญ พระราชอาคันตุกะ เพื่อทรงร่วมถวายพระพรในการนี้ ในนามรัฐบาลไทย
จัดงาน
นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๖๐ ปี ในนามรัฐบาลไทย
โครงการสวนสัตว์กลางคืน
เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี [5]
เตรียมการจัด
งานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ในนามรัฐบาลไทย จนเสร็จสมบูรณ์พร้อมเปิดให้เข้าชม ก่อนการรัฐประหาร 19 กันยายน
[
แก้] อื่นๆ
ทุนการศึกษาให้นักเรียนต่างจังหวัด มีโอกาสไปเรียนต่างประเทศ โดยใช้รายได้จากการจำหน่าย
สลากเลขท้าย 3 ตัวและ 2 ตัว (โอดอส ODOS)
ปราบปราม
ยาเสพติด และผู้มีอิทธิพล [6]
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้จัดสร้างจนเสร็จสมบูรณ์ พร้อมเปิดใช้บริการ ก่อนการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และ โครงการจัดตั้งจังหวัดสุวรรณภูมิมหานคร เพื่อสร้างเมืองใหม่ ในบริเวณท่าอากาศยาน
นโยบายต่อต้านการ
คอรัปชั่น
ตู้ไปรษณีย์ นายกฯ (เช่น กรณียาย
ไฮ ขันจันทา เรียกร้องที่ดินคืนจากการสร้างฝาย เป็นเวลา 20 ปี จนได้รับที่คืน)


รายการ "นายกฯ ทักษิณ คุยกับประชาชน" ทุกเช้าวันเสาร์ เวลา 08.00-09.00 น. ทาง สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เครือข่ายทั่วประเทศ
[
แก้] การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เนื่องจากมีพระบรมราชโองการประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 แต่ยังคงปฏิบัติหน้าที่รักษาการจนกว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไป และมีรัฐบาลชุดใหม่เข้ามารับหน้าที่ต่อ
แต่เนื่องจาก
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย เมษายน พ.ศ. 2549 ซึ่งพรรคการเมืองฝ่ายค้านไม่ส่งผู้สมัครเข้าแข่งขัน ถูกประกาศให้เป็นโมฆะ คณะรัฐมนตรีชุดนี้จึงต้องรักษาการต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งประกาศว่าจะเลือกตั้งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 แต่ก่อนจะถึงการเลือกตั้งก็เกิด การก่อรัฐประหารโดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (คปค.) จึงทำให้คณะรัฐมนตรีชุดนี้สิ้นสุดลง