วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กฏหมายที่ประชาชนควรรู้จัก

กฏหมายทะเบียนราษฏร
กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎรได้กำหนดระเบียบปฏิบัติในการแจ้งเกิด การแจ้งตาย การย้ายที่อยู่ การจัดทำทะเบียนคนและทะเบียนบ้าน โดยได้กำหนดไว้ว่าเมื่อมีคนเกิดในบ้านเจ้าบ้านจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ภายในเวลา 15 วันนับแต่วันเกิด เมื่อมีคนตายเจ้าบ้าจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในเวลา 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย เมื่อบุคคลย้ายออกจากบ้านหรือย้ายเข้ามาอยู่ในบ้าน เป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในเวลา 15 วัน พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 เป็นกฎหมายสำคัญที่กำหนดระเบียบปฏิบัติ การแจ้งเกิด การแจ้งตาย การย้ายที่อยู่ การจัดทำทะเบียนคนและทะเบียนบ้าน เป็นกฎหมายที่ใกล้ตัวเกี่ยวข้องกับตนเองและสังคมเป็นอย่างมาก เมื่อคนเกิดมาจะต้องทำอย่างไร เป็นหน้าที่ของใครที่จะแจ้งเกิด ไปแจ้งที่ไหน หรือเมื่อมีคนตายผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องปฏิบัติอย่างไร เมื่อต้องการย้ายที่อยู่จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างไร

1. ประโยชน์ของกฎหมายเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร การที่กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎรได้กำหนดให้มีทะเบียนคนเกิด ทะเบียนคนตาย ทะเบียนบ้านจะเป็นประโยชน์ทำให้รู้ข้อมูลต่างๆ ของประชากรในประเทศ โดยรู้ว่าในบ้านหนึ่งในท้องที่หนึ่งมีประชากรกี่คน เป็นเพศอะไรบ้าง แต่ละคนมีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีการโยกย้ายออกไปหรือเข้ามาในท้องถิ่นนั้นอย่างไร มีจำนวนประชากรเพิ่มหรือลดลงจากการเกิดการตายเท่าใด จำนวนประชาการในแต่ละท้องถิ่นมีจำนวนมากน้อยเพียงไร ซึ่งความรู้ในข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายปกครองและฝ่ายบริหารบ้านเมือง เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป กรณีตัวอย่าง การพัฒนาด้านการศึกษา จากการที่รู้ข้อมูลว่าจำนวนประชากรในแต่ละท้องถิ่นมีความหนาแน่นเพียงไร มีอัตราการเพิ่มอย่างไร ก็สามารถเป็นข้อมูลของรัฐบาลที่จะให้งบประมาณในด้านการสร้างโรงเรียน หรือในด้านการคมนาคม การที่จะให้มีการพัฒนาด้านการสร้างถนนหนทางไปในท้องถิ่นต่างๆ ก็ต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ความหนาแน่นของบ้านเรือน เหล่านี้เป็นต้น หรือในด้านสาธารณสุขในเรื่องของการป้องกันโรคระบาด เมื่อในท้องที่ใดมีการแจ้งตายด้วยโรคระบาดก็สามารถเร่งให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาดให้แก่คนในท้องถิ่นนั้นได้โดยรวดเร็วเพื่อป้องกันโรคบาด เป็นต้น


2. คนเกิด 2.1 การแจ้งเกิด เมื่อมีคนเกิดให้แจ้งเกิดดังต่อไปนี้ 1) คนเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือบิดมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่คนเกิดในบ้านภาย 15 วันนับแต่วันเกิดในกรณีคนเกิดในโรงพยาบาล ซึ่งในโรงพยาบาลบางแห่งเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจะบริการไปแจ้งเกิดต่อนายทะเบียนท้องที่ที่คนเกิด โดยปฏิบัติตามกำหนดเวลาดังกล่าว หรือถ้าเป็นโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร บางแห่งจะมีสำนักงานทะเบียนท้องที่นั้นประจำอยู่ที่โรงพยาบาล โดยมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ในด้านบริการรับแจ้งเกิด 2) คนเกิดนอกบ้าน ให้บิดาหรือมารดาแจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดนอกบ้าน หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ภายใน 15 วันนับแต่วันเกิด ในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ตามกำหนดให้แจ้งภายหลังได้ แต่ต้องไม่เกิน 30 วันนับแต่วันเกิด ถ้าบิดามารดาประสงค์จะเปลี่ยนชื่อบุตรนั้น ให้แจ้งภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่แจ้งชื่อคนเกิดต่อนายทะเบียน และให้นายทะเบียนจัดการเปลี่ยนชื่อให้ โดยต้องเสียค่าธรรมเนียม 25 บาท 3) ผู้ที่พบเด็กในสภาพแรกเกิดหรือเด็กอ่อนซึ่งถูกทอดทิ้ง ให้นำเด็กนั้นไปส่งและแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ประชาสงเคราะห์แห่งท้องที่ที่พบเด็กนั้นโดยเร็ว 2.1 สถานที่แจ้งเกิด 1) ในเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานเทศบาล 2) นอกเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนตำบล ซึ่งได้แก่ บ้านของกำนันผู้ใหญ่บ้าน หรือข้าราชการอื่นที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียนตำบล 3) ในกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น ซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานเขตการแจ้งเกิดในกรณีคนเกิดในบ้าน เป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านแต่จะมอบหมายให้ผู้ใดไปแจ้งแทนก็ได้ การไปแจ้งเกิดกรณีคนเกิดในบ้าน ผู้แจ้งต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านไปด้วยทุกครั้ง เมื่อนายทะเบียนรับแจ้งการเกิดแล้ว จะมอบสูติบัตรให้แก่ผู้แจ้งเป็นหลักฐานสูติบัตร เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการและมีประโยชน์มาก เพราะเป็นเอกสารที่แสดงถึงชื่อตัว ชื่อสกุล สัญชาติ วัน เดือน ปีเกิด ชื่อตัว ชื่อสกุล และสัญชาติของบิดามารดา ต้องเก็บรักษาไว้ให้ดีเพื่อนำไปแสดงเป็นหลักฐานได้ทุกโอกาสตราบเท่าที่มีชีวิตอยู่



3. คนตาย 3.1 การแจ้งตาย เมื่อมีคนตายให้แจ้งตายดังต่อไปนี้ 1) คนตายในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายภายในเวลา 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย ในกรณีที่ไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพเป็นผู้แจ้งการตายภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาพบศพ 2) คนตายนอกบ้าน ให้บุคคลที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ตายหรือพบศพแล้วแต่กรณี หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือพบศพ หรือจะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจก็ได้ ถ้าในท้องที่ใดการคมนาคมไม่สะดวก ผู้อำนวยการทะเบียนกลางอาจขยายเวลาออกไปตามที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกิน 7 วัน นับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ การแจ้งตายกรณีคนตายในบ้าน เจ้าบ้านจะมอบหมายให้ผู้ใดไปแจ้งแทนก็ได้ โดยผู้แจ้งจะต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านไปด้วย 3.2 สถานที่แจ้งตาย 1) ในเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานเทศบาล 2) นอกเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนตำบล ซึ่งได้แก่ บ้านของกำนันผู้ใหญ่บ้าน หรือข้าราชการอื่นที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียนตำบล 3) ในกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น ซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานเขต การแจ้งตายในกรณีคนตายในบ้าน เป็นหน้าที่เจ้าบ้านแต่จะมอบหมายให้ผู้อื่นที่อยู่ในบ้านเดียวกันไปดำเนินการแทน ไม่ต้องทำหนังสือมอบอำนาจ ถ้าจะมอบให้บุคคลอื่นที่ไม่ได้อยู่ในบ้านเดียวกันไปดำเนินการแทน ต้องทำหนังสือมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษร การแจ้งตายในกรณีคนตายในบ้าน และผู้นั้นมีชื่อยู่ในทะเบียนบ้านด้วย เมื่อไปแจ้งต้องต้องนำสำเนาทะเบียนฉบับเจ้าบ้านไปด้วย และเมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งการตายจะมอบมรณบัตรให้แก่ผู้แจ้งเป็นหลักฐานมรณบัตร เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการ ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการตายของบุคคล

กฏหมายการเกณฑ์ทหาร
พ.ร.บ. รับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ และกฎกระทรวงออกตามความใน พ.ร.บ. ฯพ.ศ.๒๔๙๘ ประชาชนชาวไทยโดยเฉพาะชายที่มีสัญชาติไทย ต้องเข้ารับราชการทหารด้วยกันทุกคน แต่มีจำนวนมากยังไม่เข้าใจ เกี่ยวกับหน้าที่การรับราชการทหารในขั้นตอนต่าง ๆ เช่น การขึ้นทะเบียนทหาร การรับหมายเกณฑ์ การเก็ณฑ์ทหาร รวมไปถึงการขอยกเว้น และการขอผ่อนผันในการเข้ารับราชการทหารกองประจำการ ซึ่งก่อให้เกิดความสับสนไม่เข้าใจวิธีปฏิบัติตามหน้าที่ที่ถูกต้อง หรือได้รับคำชี้นำในการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย จนกระทั่งต้องถูกดำเนินคดีเป็นจำนวนมาก ในข้อหาหลีกเลี่ยงขัดขื่นไม่ไปลงบัญชีทหารกองเกิน (ขึ้นทะเบียนทหาร) ไม่ไปรับหมายเรียก(หมายเกณฑ์) , หรือไม่ไปเข้ารับการตรวจเลือก (เกณฑ์ทหาร) และ อื่น ๆ เป็นเหตุให้ต้องเสียทั้งเวลาและทรัพย์สินในการต่อสู้คดี ดังนั้นเพื่อให้ชาวไทย ซึ่งเป็นทั้งนักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้ทราบถึงหน้าที่และการปฏิบัติ เกี่ยวกับการรับราชการทหารได้ถูกต้องกองการสัสดี กรมเสมียนตรา จึงได้ทำคู่มือฉบับนี้ขึ้น เพื่อชี้แจงเน้นย้ำ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรับราชการทหาร เพื่อจะปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดไว้ได้อย่างถูกต้อง และมีจิตสำนึกที่ดี พร้อมที่จะอุทิศแรงกายแรงใจ เสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อรับใช้ประเทศชาติด้วยความเต็มใจสมกับเป็นชายชาติทหารอย่างแท้จริง หวังว่าคู่มือสำหรับประชาชนเรื่องความรู้เกี่ยวกับ การรับราชการทหารฉบับนี้ คงเป็นประโยชน์แก่ท่านตามสมควร



ประเทศตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ปกครองประเทศเป็นต้นมา กำหนดให้ชายไทยทุกคนต้องรับราชการทหารและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรพุทธศักราช ๒๕๔๐ ฉบันที่ใช้ในปัจจุบันยังกำหนดไว้ในหมวดที่ ๔ หน้าที่ของชายไทย มาตรา ๖๙ ซึ่งมีความว่า " บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รับราชการทหาร เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษา อบรม ...ฯลฯ.. ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ " กฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ มาตรา ๗ บัญญัติว่า "ชายที่มีสัญชาติ เป็นไทย "และการได้มีสัญญาติไทยเป็นไปตามพระราชบัญญัติสัญชาติไทยตามกฎหมายมีหน้าที่รับราชการทหารด้วยตนเองทุกคน พ.ศ.๒๕๐๘ ดังนั้นหน้าที่ของชายไทยทุกคนต้องรับราชการทหาร พูดง่าย ๆ ว่า "ต้องไปเกณฑ์ทหาร" ซึ่งการรับใช้ชาติด้วยการเป็นทหารเป็นเรื่อง ที่มีเกียรติมีศักดิ์ศรี เพราะกองทัพไทยจะฝึกฝนผู้เข้ารับราชการหารให้มีระเบียบ วินัย ฝึกหัดวิชาชีพเพิ่มพูนความรู้ในด้านต่าง ๆ อัน เป็นประโยชน์และมีคุณค่าอย่างมากแก่ทหารเกณฑ์ทุกคน ซึ่งปกติการเกณฑ์ทหารจะกระทำกันในช่วงเดือน เม.ย. ของทุกปี ปีละครั้ง และต้องเข้ารับราชการเป็นทหารเกณฑ์จำนวน ๒ ปี แต่มีข้อยกเว้นและผ่อนผันสำหรับผู้ที่เรียนวิชารักษาดินแดน(ร.ต.) หรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับต่าง ๆ ซึ่งกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติรับราชการทหารและกฎกระทรวง ซึ่งจะกล่าวต่อไป ๑.หน้าที่ของชายไทยที่จะต้องเกี่ยวกับการรับราชการทหารมีดังนี้ ๑.๑ การลงบัญชีทหารกองเกิน (การขึ้นทะเบียนทหาร) ชายไทยเมื่ออายุย่างเข้า ๑๘ ปี (๑๗ ปีบริบูรณ์) ให้ไปแสดงตนเพื่อขึ้นทะเบียนทหารภายในปี พ.ศ.นั้น ๑.๒ การรับหมายเรียก(การรับหมายเกณฑ์) ทหารกองเกินทุกคนเมื่อมีอายุย่างเข้า ๒๑ ปี (๒๐ ปี บริบูรณ์ ) ใน พ.ศ. ใดต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหารของตน ภายใน พ.ศ.นั้น ๑.๓ การเข้ารับการตรวจเลือก (การเข้าเกณฑ์ทหาร)ทหารกองเกินเมื่อได้รับหมายเรียกแล้วจะต้องไปเกณฑ์ทหารตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนดไว้ในหมายเรียก ๑.๔ การเข้ารับการเรียกพลของทหารกองหนุน ทหารที่ปลดจากกองประจำการโดยรับราชการในกองประจำการจนครบตามที่กฎหมายกำหนด หรือทหารกองเกินซึ่งสำเร็จการฝึกวิชาทหารตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร และได้ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นทหารกองหนุน เมื่อมีหมายเรียกพล (เพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม) จะต้องไปรายงานตัวเพื่อเข้ารับการฝึก หรือทบทวนวิชาทหาร ให้มีความรู้ความสามารถพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๒.บุคคลที่จะได้สัญชาติไทย จะต้องเข้าหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ ๒.๑ เกิดโดยบิดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย ๒.๒ เกิดนอกราชอาณาจักรไทย โดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายหรือบิดาไม่มีสัญชาติ ๒.๓ เกิดในราชอาณาจักรไทย (นอกจากผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ที่มีบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว และขณะที่เกิดบิดามารดาเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต หรือเจ้าหน้าที่ในคณะผู้แทนทางการทูต หรือพนักงานหรือผู้เชี่ยวชาญขององค์การระหว่างประเทศ และคนในครอบครัว ซึ่งเป็นญาติอยู่ในอุปการะหรือคนใช้ ซึ่งเดินทางมาอยู่กับบุคคลดังกล่าว) ๒.๔ ผู้ที่ได้แปลงสัญชาติเป็นไทยตามกฎหมาย ๒.๕ บุคคลที่ได้กลับคืนสัญชาติไทย ชายที่มีสัญชาติไทย เริ่มผูกพันกับกฎหมายรับราชการทหาร ตั้งแต่อายุครบ ๑๗ ปีบริบูรณ์ หรือ อายุย่างเข้า ๑๘ ปี ในวาระแรกที่ได้ขึ้นทะเบียนทหารที่อำเภอตามที่กฎหมายกำหนด ๓.การนับอายุ คนเกิดในวันใดเดือนใดก็ตามปีเดียวกัน เมื่อสิ้นปีนั้น อายุจะเท่ากันหมด คือ ๑ ปีบริบูรณ์และนับเป็นอายุย่าง ๒ ปีด้วย เช่น คนเกิดวันที่ ๑ ม.ค.๒๕๔๐ กับคนเกิดวันที่ ๓๑ ธ.ค.๒๕๔๐ เมื่อสิ้นปี ๒๕๔๐ และในวันที่ ๑ ม.ค.๒๕๔๑ ให้นับอายุครบ ๑ ปีบริบูรณ์ และจะมีอายุย่าง ๒ ปี เท่ากัน เรื่อยไปจนถึงวันที่ ๓๑ ธ.ค.๒๕๔๑ และเมื่อสิ้นปี ๒๕๔๑ แล้ว ในวันที่ ๑ ม.ค.๒๕๔๒ ให้นับอายุครบ ๒ ปีบริบูรณ์และจะมีอายุย่าง ๓ ปี ด้วยให้นับเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ ตามที่ต้องการ การจะทราบว่าอายุปัจจุบันเท่าใด้ให้เอา พ.ศ.ปัจจุบันตั้งลบด้วย พ.ศ.เกิด เช่น คนเกิด พ.ศ.๒๕๒๔ จะมีอายุครบ ๑๗ ปีบริบูรณ์ หรือย่างเข้า ๑๘ ปี ตลอดปี ๒๕๔๑ คือ อายุครบและอายุย่าง ตั้งแต่วันที่ ๑ ม.ค.๔๑ - วันที่ ๓๑ ธ.ค.๔๑


ชายที่มีสัญชาติไทย เมื่อมีอายุย่างเข้า ๑๘ ปี (๑๗ ปีบริบูรณ์) ใน พ.ศ.ใด ให้ไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน(ไปขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน) ณ อำเภอท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหารของเตน ภายใน พ.ศ.นั้น(ตั้งแต่ ๑ ม.ค.- ๓๑ ธ.ค.) เช่น เกิด พ.ศ.๒๕๒๔ ต้องไปขึ้นทะเบียนทหารในพ.ศ.๒๕๔๑ ผู้ใดไม่สามารถไปขึ้นทะเบียนทหารกองเกินด้วยตนเองได้ต้องให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติและเชื่อถือได้ไปแจ้งแทน(ปกติควรให้ผู้ปกครอง) ถ้าไม่ไปแจ้งแทนในปีนั้นถือว่าหลี่กเลี่ยงขัดขืนทางอำเภอแจ้งความดำเนินคดีมีโทษจำคุกไม่เกิน ๓ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๓๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(ส่งให้พนักงานสอบสวน คือ ตำรวจเปรียบเทียบปรับไม่ได้ ต้องดำเนินคดีถึงชั้นศาล) เมื่อได้ลงบัญชีทหารกองเกินแล้ว ให้ถือว่าเป็นทหารกองเกินตั้งแต่ วันที่ ๑ ม.ค. ของปีถัดไป ๑. การลงบัญชีทหารให้ปฏิบัติ ดังนี้ กรณีบิดาและมารดาสมรสกันตามกฎหมาย ให้ถือภูมิลำเนาของบิดาเป็นหลักในการลงบัญชีทหารถ้าบิดาถึงแก่กรรมแล้ว มารดายังมีชีวิตอยู่หรือถ้าทั้งบิดาและมารดาถึงแก่กรรมแล้ว มีผู้ปกครองให้ถือลำเนาในการลงบัญชีทหารที่อำเภอท้องที่ที่มารดาหรือผู้ปกครองมีภูมิลำเนาแล้วแต่กรณี หรือถ้าบุคคลดังกล่าวถึงแก่กรรมหมดให้ลงบัญชีทหารที่อำเภอท้องที่ที่ผู้ขอลงบัญชีทหารมีภูมิลำเนาอยู่ (ภูมิลำเนาคือการที่มีรายชื่อปรากฎอยู่ในทะเบียนบ้าน) การขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน ผู้ขอยื่นใบแสดงตน เพื่อขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน ต้องนำหลักฐานคือสูติบัตรหรือบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน (ที่มีชื่อบิดา หรือมารดา) ต่อนายอำเภอท้องที่ เมื่อนายอำเภอท้องที่ได้ตรวจสอบหลักฐาน เอกสารเห็นว่าถูกต้องแล้วจะรับลงบัญชีทหารและออกใบสำคัญทหารกองเกิน(แบบ สด.๙)ให้เป็นหลักฐาน ตัวอย่าง เช่น นาย ก. เกิด พ.ศ.๒๕๒๔ ให้ถือว่าอายุครบ ๑๗ ปี บริบูรณ์ และอายุย่าง ๑๘ ปี ใน พ.ศ.๒๕๔๑ เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย นาย ข. และ นาง ค. (นาย ข. มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ นาง ค. มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี, นาย ก. มีภูมิลำเนาอยู่กับน้า) กรณีนี้ นาย ก. จะต้องนำทะเบียนของตนพร้อมด้วยบัตรประจำตัวประชาชนไปแสดงขอลงบัญชีทหารที่อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของบิดากับต้องนำทะเบียนบ้านของบิดาและมารดาไปแสดงด้วย เมื่อลงบัญชีทหารแล้วถือว่า นาย ก. มีภูมิลำเนาทหารอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ถ้านาย ข. เสียชีวิต นาย ก. จะต้องนำทะเบียนบ้านบัตรประจำตัวประชาชนของตนกับมรณบัตรของนาย ข. และทะเบียนของ นาง ค. ไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ถ้า นาย ข. และ นาง ค. หย่าขาดจากกัน นาย ก. อยู่กับมารดาที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี หรืออยู่กับน้าที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานครก็ตาม กรณีนี้ นาย ก. จะต้องไปลงบัญชี ณ อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของบิดา ถ้าไม่สะดวกที่จะไปลงบัญชีทหารด้วยตนเอง จะให้บิดาแจ้งการลงบัญชีทหารแทนก็ได้ต้องใกล้กระชั้นวันหมดเขตการลงบัญชีทหาร โดยส่งสำเนาทะเบียนบ้านของตน และของมารดา อีกทั้งบัตรประจำตัวประชาชนของตน พร้อมกับแจ้งตำหนิ แผลเป็นเหนือเอวขึ้นไปที่เห็นได้ง่ายและชัดเจน ซึ่งต่อไปจะไม่สูญหาย เช่น "แผลเป็นที่แก้มขวา" เพื่อให้บิดาดำเนินการแจ้งลงบัญชีทหารแทน เสร็จแล้วบิดาจะส่งเอกสารดังกล่าวพร้อมกับใบสำคัญ (แบบ สด.๙) ให้แก่ นาย ก. ไว้เป็นหลักฐานต่อมาถ้า นาย ก. ประสงค์จะตรวจเลือกทหารที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานครก็กระทำได้ โดยแจ้งย้ายภูมิลำเนาทหารมาอยู่ที่เขตดุสิต การแจ้งไม่ต้องไปแจ้งที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่แต่อย่างใด คงแจ้งที่เขตดุสิตแห่งเดียวกล่าวคือ เพียงแต่นำใบสำคัญ (แบบ สด.๙) ไปขอแจ้งย้ายภูมิลำเนาทหารที่เขตดุสิต(สัสดีเขตดุสิตเป็นผู้ดำเนินการให้)ถ้า นาย ข.และ นาง ค. เสียชีวิตทั้งสองคนและมีน้าเป็นผู้ปกครองกรณีนี้ นาย ก. จะต้องนำหลักฐานดังกล่าวแล้วข้างต้น ไปลลบัญชีทหารที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นภูมิลำเนาขงน้าถ้า นาย ก. เกิตนอกสมรสและบิดามิได้จดทะเบียนรองรับบุตรหรือถ้ามารดาเสีงชียวแล้วมีผูกปกรอง ให้ลงบัญชีทหารที่อำเภอท้องที่ที่มารดา หรือผู้ปกครอง มีภูมิลำเนาแล้วแต่กรณี แต่ถ้าไม่มีบุคคลดังกล่าว (บิดา มารดา ผู้ปกครอง)ให้ลงบัญชีทหารที่อำเภอท้องที่ที่นาย ก. มีภูมิลำเนาอยู่เนื่องจากทางราชการได้ให้ระยะเวลาในการลงบัญชีทหารไว้ตั้งแต่มกราคม ถึง ธันวาคม ในปีที่มีอายุย่างง ๑๘ ปี และในเดือนกันยายน ของทุกปี ทางอำเภอจะประกาศเตือนให้ผู้ที่ยังมิได้ ลงบัญชีทหารให้ไปลงบัญชีทหารให้เสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย ประกาศเช่นว่านี้จะปิดไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการกำนัน ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านและที่เปิดเผยตามชุมชน ในท้องที่นั้นกับนายอำเภอจะส่งประกาศให้กำนันผู้ใหญ่บ้าน เพื่อนำไปแจ้งให้ราษฎรในท้องที่ของตนทราบด้วย ถ้าผู้ใดไม่ไปลงบัญชีทหารกองเกินภายในกำหนด จะถูกดำเนินคดีอาญาฐานหลีกเลี่ยงขัดขืน มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าทางอำเภอได้ส่งรายชื่อไปให้เจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดีต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๓ เดือนหรือปรับไม่เกินสามร้อยบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ ๒. การลงบัญชีทหารกองเกินแทน ผู้ใดมีความจำเป็นไม่สามารถไปลงบัญชีทหารด้วยตนเองได้ต้อง ให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและเชื่อถือได้ไปแจ้งแทน โดยปกติจะเป็นบิดา มารดา หรือพี่ ซึ่งจะต้องเป็นกรณีที่กระชั้นวันหมดเขตระยะเวลาลงบัญชี(ประมาณเดือนธันวาคม) โดยมีความจำเป็นดังนี้

๒.๑ ป่วย ๒.๒ ไปอยู่ต่างประเทศยังไม่มีกำหนดกลับ หรือมีกำหนดกลับ หรือ มีกำหนดกลับแต่วันที่จะกลับเลยกำหนดเวลาการรลงบัญชีทหารกองเกินแล้ว ๒.๓ ไปศึกษาต่างท้องที่ไม่สามารถจะกลับไปได้เพราะติดการสอบไล่ บุคคลซึ่งยังมิได้ลงบัญชีทหารกองเกินตามระยะเวลาที่กำหนด ถ้าอายุยังไม่ถึง ๔๖ ปีบริบูรณ์ก็ต้องไปลงบัญชีทหารทุกคนตามกฏหมาย จะให้ผู้อื่นแจ้งแทนไมได้ ต้องไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารด้วยตนเองเพราะมีความผิดปกติขึ้นแล้ เมื่อได้ลงบัญชีทหารกองเกิอแล้วทางอำเภอจะออกใบสำคัญ(แบบ สด.๙) ให้ไว้เป็นหลักฐานต่อไป เมื่อมีประสงค์จะย้ายภูมิลำเนาทหาร ก็ย่อมทำได้ โดยแจ้งต่อนายอำเภอ (สัสดีอำเภอ) ท้องที่ที่ตนเองเข้ามาอยู่นั้น (โดยไม่ต้องแจ้งย้ายที่อำเภอเดิม) การแจ้งย้ายภูมิลำเนาทหารให้กระทำภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ย่ายทะเบียนเข้ามาอยู่ในท้องที่ใหม่โดยนำใบสำคัญ(แบบ สด.๙) หรือหนังสือสำคัญ (แบบ สด.๘) กับทะเบียนบ้านไปประกอบหลักฐานการแจ้งย้ายภูมิลำเนาทหารด้วย อนึ่ง ถ้าได้รับในอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล ให้นำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล พร้อมก้บใบสำคัญ (แบบ สด.๙) หรือ หนังสือสำคัญ(แบบ สด.๘) ไปแจ้งต่อนายอำเภอท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหาร ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตเพื่อแก้หลักฐานให้ถูกต้อง เมื่อได้ขึ้นทะเบียนทหารกองเกินแล้ว ถือว่าผู้นั้นมีภูมิลำเนาทหารอยู่ในอำเภอที่ได้ขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน
อธิบายศัพท์ - ภูมิลำเนาทหาร หมายความว่า อำเภอท้องที่ที่บุคคลนั้นได้แจ้งการลงบัญชีทหารกองเกินไว้ที่อำเภอแล้ว และบุคคลจะมีภูมิลำเนาทหารได้ เพืยงแห่งเดียวเท่านั้น - หทารกองเกิน หมายความว่า ผู้ซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบแปดปีบริบูรณ์และยังไม่ถึงสามสิบปีบริบูรณ์และยังไม่ถึงสามสิบปีบริบูรณ์ ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกิน (ขึ้นทะเบียนทหาร) แล้ว
ทหารกองเกินทุกคนเมื่อมีอายุย่างเข้า ๒๑ (อายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์) ใน พ.ศ. ใด ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเกณฑ์ที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของตน ภายใน พ.ศ.นั้น เช่น ทหารกองเกินเกิด พ.ศ.๒๕๒๑ ให้ไปแสดงตนรับหมายเกณฑ์ได้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๑ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาม ๒๕๔๑ ในเวลาราชการ เมื่อรับหมายเกณฑ์แล้ว จะต้องไปรับการตรวจเลือก (เกณฑ์) ในเดือนเมษายน ๒๕๔๒ ตามวัน เวลาและสถานที่ทีกำหนดไว้ในหมายเกณฑ์ หากไม่ไปจะถูกดำเนินคดีฐานหลีกเลี่ยงขัดขืน มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๓ ปี ๑. การออหมายเกณฑ์ หมายเกณฑ์นายอำเภอจะออกเฉพาะผู้ที่ได้ลงบัญชีเป็นทหารกองเกินแล้ว คือ ๑.๑ ผู้ที่มีอายุ ๒๑ ปีบริบูรณ์ ในปีที่จะเข้ากองประจำการ ๑.๒ ผู้ที่มีอายุ ๒๒-๒๙ ปีบริบูรณ์ ซึ่งต้องไม่เคยเข้าตรวจเลือก(เกณฑ์ทหาร) หรือเป็นคนหลีกเลี่ยง ไม่มารับการเกณฑ์ในปีก่อน ๆ(ศาลตัดสินลงโทษแล้ว) หรือพ้นจากฐานะการยกเว้น หรือผ่อนผัน หรือได้รับการผ่อนผันเนื่องจากเป็นนิสิต นักศึกษา นักเรียน หรือผู้ที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงบิดาหรือมารดา หรือบุตร หรือคณะกรรมการตรวจเลือกมีความเห็นว่าป่วยรักษาไม่หายภายใน ๓๐ วัน ในปีที่ผ่านมา ๒. การรับหมายเกณฑ์แทน ผู้ใดไม่สามารถจะไปรับหมายเรียกตนเองได้ ต้องให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและเชื่อถือได้ไปรับหมายเกณฑ์แทน ถ้าไม่มีให้ถือว่า ผู้นั้นหลีกเลี่ยงขัดขืน การรับแทนจะต้องเป็นกรณีใกล้วันหมดเขตรับหมายเกณฑ์(ประมาณเดือนธันวาคม) โดยมีความจำเป็น ดังนี้ ๒.๑ ป่วย ๒.๒ ไปอยู่ต่างประเทศยังไม่มีกำหนดกลับ หรือมีกำหนดกลับแต่วันที่จะกลับนั้นเลยกำหนดเวลาการรับหมายเกณฑ์แล้ว ๒.๓ ไปศึกษาต่างท้องที่ ไม่สามารถจะกลับไปได้เพราะติดการสอบไล่ การที่จะให้รับหมายเกณฑ์แทนหรือไม่นั้นอยู่ในดุลพินิจของนายอำเภอการรับหมายเกณฑ์แทน จะต้องมีหนังสือมอบหมายหรือมอบฉันทะของทหารกองเกินผู้นั้นถึงนายอำเภอโดยผู้รับแทนนำมาแสดง แล้วให้สัสดีอำเภอลงทะเบียนรับหนังสือ และให้ทางอำเภอทำการสอบสวนปากคำผู้รับแทนนั้นไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งผู้รับแทนจะต้องให้คำรับรองในการสอบสวนว่า จะมอบหมายเกณฑ์ที่รับไปนั้นนำไปมอบให้แก่ทหารกองเกินผู้นั้น พร้อมกับแจ้งวันเวลาและสถานที่เกณฑ์ทหารให้ทราบ แล้วเสนอนายอำเภอ ขออนุมัติก่อนมอบหมายเกณฑ์ให้รับไป ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ ทหารกองเกินผู้นั้นอ้างว่าไม่ได้รับหมายเกณฑ์ในกรณีที่หลีกเลี่ยงขัดขืน ไม่ไปเข้ารับการเกณฑ์ทหาร ๓. การจัดทำประกาศ ในเดือนตุลาคมทุกปี ทางอำเภอจะจัดทำประกาศให้ทหารกองเกินที่มีอายุย่างเข้า ๒๑ ปี ใน พ.ศ. นั้นไปแสดงตนเพื่อรับหมายเกณฑ์ที่ อำเภอ ประกาศเช่นว่านี้จะปิดไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการกำนัน ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน และที่เปิดเผยตามชุมชนในท้องที่นั้น กับนายอำเภอจะส่งประกาศให้กำนัน ผู้ใหญ้บ้านเพื่อนำไปแจ้งให้ราษฎรในท้องที่ของตนทราบด้วย ถ้าผู้ใดไม่ไปรับหมายเกณฑ์ตามกำหนดจะถูกดำเนินคดีอาญาฐานหลีกเลี่ยงขัดขืน มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับแต่ถ้าทางอำเภอได้ส่งรายชื่อไปให้เจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


กฏหมายการเลือกตั้ง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภาดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๑"
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พุทธศักราช ๒๔๘๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน


"มาตรา ๖ ระยะเวลารับสมัครเลือกตั้งจะต้องกำหนดไว้ไม่น้อยกว่าเจ็ดวันและไม่เกินสิบห้าวัน โดยกำหนดวันสุดท้ายของระยะเวลารับสมัครไว้ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสามสิบวัน"
มาตรา ๔ บทบัญญัติของมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พุทธศักราช ๒๔๘๒ ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดที่กำหนดระยะเวลารับสมัครเลือกตั้งและวันเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

กฏหมายพรรคการเมือง
ความสำคัญของพรรคการเมืองพรรคการเมืองถือว่าเป็นสถาบันทางการเมืองที่สำคัญในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนเนื่องจากพรรคการเมืองเป็นการรวมกลุ่มกันของบุคคลที่มีแนวคิด อุดมการณ์ทางการเมืองร่วมกัน มีสิ่งยึดเหนี่ยวทางการเมืองเช่นเดียวกันทำให้รวมกันจัดตั้งกลุ่มทางการเมืองขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนเสนอแนวคิดและ นโยบายทางการเมือง และส่งตัวแทนเข้าไปมีบทบาทในสภา องค์ประกอบที่สำคัญของพรรคการเมืองคือ สมาชิกพรรค ที่มาจากบุคคลที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่เหมือนกันและอาจจะมีผลประโยชน์ร่วมกันในบางกรณี โดยการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองที่สำคัญของพรรคการเมืองคือ การส่งสมาชิกพรรคลงรับสมัครเลือกตั้งเพื่อเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเข้าไปมีบทบาทในการพิจารณาออกกฎหมายที่จำเป็นและมีประโยชน์แก่ประชาชนในประเทศพรรคการเมืองจึงเป็นองค์กรทางการเมืองที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง ผ่านการเลือกสมาชิกพรรคเพื่อเข้าไปเป็นตัวแทนของประชาชน เพื่อทำหน้าที่ในการบริหารบ้านเมือง พิจารณาร่างกฎหมายต่าง ๆ และให้ความเห็นชอบในกฎหมายที่เห็นว่ามีประโยชน์แก่ประชาชนเพื่อให้พรรคการเมืองเป็นสถาบันที่มีความสำคัญและเป็นกลไกที่สำคัญของการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทย จึงได้มีการออกกฎหมาย "พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541" ขึ้นเพื่อกำหนดอำนาจหน้าที่และแนวทางในการดำเนินการทางการเมืองของพรรคการเมือง รวมถึงการควบคุมพรรคการเมืองให้ปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
หลักเกณฑ์การยุบพรรคการเมือง

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มีข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองตั้งแต่การจัดตั้งพรรคการเมือง การดำเนินกิจการทางการเมือง และการยุบเลิกพรรคการเมือง ในบทความนี้จะนำเสนอเกี่ยวกับการยุบเลิกพรรคการเมือง ซึ่งมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องหลายมาตรา อีกทั้งในสถานการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมาได้มีความเกี่ยวข้องกับการยุบเลิกพรรคการเมือง โดยการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้งในชุดก่อนที่มี พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ เป็นประธาน ได้ยื่นเรื่องให้แก่อัยการสูงสุดเพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคการเมือง 5 พรรค และเหตุการณ์ที่สำคัญต่อมาคือ การยึดอำนาจการปกครองเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากมาย ตั้งแต่การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และการประกาศยกเลิกกฎหมายบางข้อ ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้มีผลกระทบต่อการใช้กฎหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไปสำหรับการยุบพรรคการเมือง ได้กำหนดให้พรรคการเมืองที่ดำเนินการทางการเมืองสามารถเลิกหรือยุบพรรคการเมืองได้ หากไม่ดำเนินการตามที่ พรบ.พรรคการเมืองกำหนด ซึ่งแบ่งการเลิกหรือยุบพรรคออกเป็น 2 ลักษณะ คือลักษณะแรก (มาตรา65) พรรคการเมืองมีเหตุต้องเลิกหรือยุบพรรคการเมือง เนื่องจากไม่กระทำตามพรบ.พรรคการเมือง เช่น1. ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับพรรคการเมือง2. มีสมาชิกพรรคเหลือไม่ถึง 15 คน3. ไม่สามารถจัดหาสมาชิกพรรคได้ถึง 5,000 คนภายใน 180 วันหลังจากที่นายทะเบียนรับจดแจ้งพรรคการเมือง4. ไม่มีดำเนินกิจการทางการเมืองและไม่ส่งรายงานการดำเนินงานกิจการของพรรคการเมือง5. ไม่ส่งรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองนายทะเบียนพรรคการเมือง


(ประธานกรรมการการเลือกตั้ง) จะดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันพบเหตุดังกล่าว เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเห็นว่ามีเหตุดังกล่าวจริง จะมีคำสั่งให้ยุบพรรคโดยศาลรัฐธรรมนูญและนายทะเบียนต้องประกาศคำสั่งยุบพรรคลงในราชกิจจานุเบกษาลักษณะที่สอง (มาตรา 66) พรรคการเมืองอาจถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ยุบพรรคการเมืองได้เมื่อพรรคการเมืองกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ 1. กระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ2. กระทำการอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ3. กระทำการอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรือขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน4. ในกรณีที่พรรคการเมืองรับบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยโดยการเกิดเข้าเป็นสมาชิกหรือยอมให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อประโยชน์ของพรรคการเมือง และในกรณีที่พรรคการเมืองหรือสมาชิกพรรคการเมืองได้รับเงิน ทรัพย์สินจากผู้อื่นเพื่อกระทำการสนับสนุนการบ่อนทำลายความมั่นคงของสถาบันชาติ พระมหากษัตริย์ หรือก่อกวน คุกคามทำให้เกิดความไม่สงบหรือมีผลต่อประชาชนทั้งทางด้านศีลธรรม สุขภาพและทรัพยากรของประเทศ หรือมีการรับเงินสนับสนุนจากบุคคลหรือนิติบุคคลที่มีผู้จัดการ หรือกรรมการเป็นผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทย หรือเป็นผู้ถือหุ้นเกินร้อยละยี่สิบห้า และรวมไปถึงนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายต่างประเทศในกรณีนี้เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียนหรือนายทะเบียนได้รับแจ้งจากพรรคการเมืองใดๆ ที่เห็นว่ามีพรรคการเมืองกระทำผิดตามมาตรา 66 ให้นายทะเบียนส่งเรื่องพร้อมหลักฐานให้กับอัยการสูงสุดเพื่อสั่งฟ้องพรรคการเมืองนั้นๆ ต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาในการสั่งยุบพรรคต่อไป หากอัยการสูงสุดไม่ยื่นสั่งฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้จัดให้มีคณะทำงานขึ้นโดยมีตัวแทนจากประธานกรรมการการเลือกตั้งและอัยการสูงสุดร่วมกันรวบรวมข้อมูล หลักฐานเพื่อทำสำนวนส่งให้อัยการสูงสุดส่งฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญต่อไป ในกรณีที่คณะทำงานดังกล่าวไม่ สามารถหาข้อยุติในการพิจารณายื่นคำร้องได้ให้นายทะเบียนมีอำนาจยื่นคำร้องเอง (มาตรา 67)เมื่อมีการสั่งยุบพรรคโดยศาลรัฐธรรมนูญแล้วให้นายทะเบียนประกาศในราชกิจจานุเบกษาในช่วงระหว่างของการพิจารณายื่นเรื่องยุบพรรค หากนายทะเบียนต้องการให้พรรคการเมืองที่ถูกกล่าวหาระงับการดำเนินการที่เข้าข่ายมาตรา 66 ก็ให้นายทะเบียนยื่นเรื่องระงับการดำเนินการของพรรคการเมืองต่ออัยการสูงสุด เพื่อให้อัยการสูงสุดยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้มีคำสั่งระงับการดำเนินการของพรรคการเมืองนั้น ๆ ไว้ชั่วคราว (มาตรา 67)







1 ความคิดเห็น: