วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ชิ้นงานที่ 9 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3
เรื่อง รัฐสภา

รัฐสภาหรื่อนิติบัญญัติ
รัฐสภา หรือ สภานิติบัญญัติ หมายถึง สภาที่ทำหน้าที่ออกกฎหมาย อภิปราย หารือกันระหว่างสมาชิกรัฐสภา ถกเถียงประเด็นทางการเมืองหรือกิจกรรมทางการเมืองอื่นๆ โดยรัฐสภาจะมีเฉพาะประเทศที่ใช้ใช้ระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งสหราชอาณาจักรเป็นประเทศแรกในโลกที่มีระบบรัฐสภาและเป็นต้นแบบระบอบประชาธิปไตยในสมัยปัจจุบันด้วย เช่น ฝรั่งเศส สเปน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เป็นต้น
รัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา



ต่อมา เมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน
ในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่
5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51,027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือ
หลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง ส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง
หลังที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา
หลังที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา




สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐสภา
วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ อนุมัติงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2552 เป็นเงิน 12,000 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ บนพื้นที่ 119 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านเกียกกาย โดยจะต้องย้ายหน่วยราชการที่อยู่ในบริเวณนั้น ประกอบด้วย โรงเรียนโยธินบูรณะ โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ช่างกล ขส.ทบ. และบ้านพักข้าราชการหทาร กรมราชองครักษ์ โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553
โดยจะใช้เวลาก่อสร้างทั้งสิน 900 วัน โดยคาดว่าจะเสร็จในต้นปี
พ.ศ. 2556


ระบบเผด็จการในระบบรัฐสภา เป็นลักษณะที่สามารถเกิดขึ้นได้ในภาคการเมืองทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบการเมืองที่มีเสียงข้างมากและมีระบบนายทุนมาให้การสนับสนุน ซึ่ง ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ (www.jvinai.spaces.live.com) กล่าวว่า " “ระบบเผด็จการในระบบรัฐสภา โดยพรรคการเมืองนายทุนธุรกิจ” ซึ่งมีความหมายว่า นายทุนเอาเงินมารวมทุนกันจัดตั้ง “พรรคการเมือง” แล้วออกเงินค่าใช้จ่ายให้พรรคพวก ไปสมัครรับเลือกตั้ง เมื่อได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนให้เป็น ส.ส. บุคคลเหล่านี้ก้จะทำงานตอบแทนแก่นายทุน นั่นเอง




นอกจากที่กล่าวมาแล้ว โดยหลักของประชาธิปไตยแล้ว ส.ส.ทีมาจากการเลือกตั้งนั้นก็ยังมีมีภาระสำคัญในการทำหน้าที่ที่ประชาชนมอบหมาย นั่นคือการตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร เพราะประชาชนไม่สามารถทำได้เอง แต่เมื่อ ส.ส. ได้รับการสนับสนุนจากนายทุนแล้ว การตรวจสอบที่เข้มแข็งจึงเป็นเพียงคำขวัญเท่านั้นที่มาของ ส.ส. รัฐธรรมนูญ ฉบับ 2540 จนถึง ฉบับปัจจุบันได้ระบุเกี่ยวกับที่มาของ ส.ส.ที่ว่า การมาสมัครเป็นผู้แทนนั้น จะต้องสังกัดพรรคการเมือง เมื่อผู้สมัครอิสระไม่สามารถอาสามาทำหน้าที่ได้เช่นนี้ บรรดาผู้ที่ประสงค์จะเป็นตัวแทนดังกล่าว จึงต้องอาศัยการสังกัดพรรคการเมือง ซึ่งจะเห็นได้ว่าบางพรรคก่อตั้งโดย นักธุรกิจ นายทุน หรือกลุ่มอำนาจเก่าที่มีอิทธิพล เช่น พรรคไทยรักไทย พรรคความหวังใหม่ พรรคพลังประชาชน พรรคมัชฌิมาธิปไตย พรรคมหาชน เป็นต้น ซึ่งหากกลุ่มทุนถอนตัว หรือ ถอนทุนออกไป พรรคการเมืองนั้นก็ล่มสลายไปด้วย นี้จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ บรรดานักการเมือง ส.ส.ทั้งหลาย พยายามสร้างบทบาทของตนเอง หรืออาจจเรียกว่า "สร้างเอกลักษณ์" ของตนให้เด่นกว่า ส.ส.คนอื่น ๆ เช่น การถือฆ้อนมาทุบอ่าง ๆ การเป็นแกนนำเผาหุ่นฟาง การยกมือพูดในที่ประชุมสภาแต่พูดไม่รู้เรื่องไม่มีประเด็น แต่เพื่อให้ได้ออกทีวี เป็นต้น การอาศัยสื่อเป็นช่องทางในการนำเสนอตัวเอง เพื่อหวังว่าการเลือกตั้งครั้งหน้าจะเป็นที่จับจองของนายทุน ที่ให้การสนับสนุนพรรคการเมืองนั่นเอง
ที่สำคัญเอกลักษณ์ดังกล่าวอาจยัง ติดตาของประชาชน ให้จดจำภาพของส.ส.คนนั้น เพื่อการเลือกตั้งครั้งตอ่ไปจะได้ถูกวางตัวจากพรรค ให้เป็นส.ส.เกรด A B หรือ C ซึ่งการจัดเกรดของส.ส.นี้หมายถึง ตัวส.ส.เองจะได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากนายทุน ในปริมาณที่แตกต่างกันอีกด้วย

ระบบการบริหาร การเมืองและการปกครอง
ระบบการเมืองการปกครอง เปิดโอกาสให้มีการระดมการสนับสนุนงบประมาณสำหรับพรรคการเมือง โดยให้ภาคเอกชน และภาคประชาชน ได้มีส่วนร่วม แต่ทั้งนี้มีพื้นฐานอยู่ที่ตรงที่ว่า พรรคการเมืองนั้นเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง นั่นหมายความว่า ประชาชนในประเทศล้วนแต่มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายของพรรคที่ตนเองสังกัด ระบบการเมืองทั่วโลกจึงเห็นว่าการอุดหนุนงบประมาณเพื่อให้การาสนับสนุนพรรคการเมืองเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ เพราะประชาชนที่สังกัดพรรคการเมืองจะทำหน้าที่ตรวจสอบ การทำหน้าที่ของตัวแทนที่อยู่มในพรรค ซึ่งเราเรียกว่า ประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน Representative democracy) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นก้คือ เมื่อประชาชนจ่ายเงินสนับสนุนแล้ว ต้องสามารถตรวจเช็คคุณภาพสินค้าว่าได้ตรงตามความต้องการหรือไม่นั่นเอง (สินค้า = นโยบายที่ People มีส่วนร่วมกำหนดแนวทางของพรรคการเมืองที่ตนเองสังกัด)ไทยเราเป็นเช่นนั้นหรือไม่หากจะกล่าวกันในสถานการณ์ที่กล่าวข้างต้น สามารถกล่าวได้ว่า รัฐสภาของไทยเราเองก้มีลักษณะเป็นเผด็จการในรัฐสภา เหตุเพราะ ส.ส.ส่วนใหญ่ ล้วนแต่ตกอยู่ภายใต้พรรคการเมือง ที่มีนายทุนธุรกิจ สนับสนุนอยู่ ดังนยั้นสภาพของรัฐสภาของไทยในขณะนี้ จึงมีลักษณะเป็น เผด็จการในระบบรัฐสภา" นั่นเอง


ทางออกของปัญหา"เผด็จการรัฐสภา"
ความเชื่อมั่นในประชาชนมีต่อ ส.ส. ตัวแทนที่เลือกไปนั้นนับวันยิ่งน้องถอยลง ซึ่งตรงกันข้ามกับตัวแทนในระดับท้องถิ่น ที่ประชาชนเร่มมีความสนใจมายิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะ ตัวแทนเหล่านั้นมิได้สังกัดพรรคการเมือง ที่สำคัญเป็นเรื่องใกล้ตัว สามารถเสนอและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที นั่นหมายความว่า การวางรากฐานให้การเมืองท้องถิ่นเช้มแข้ง เช่น การคำนึงถึงสิทธิ และประโยชน์ที่พึงมี พึงได้ ย่อมส่งผลต่อระบบการพัฒนาประชาธิปไตย เหล่าตัวแทนในส่วนท้องถิ่น ล้วนแล้วแต่ได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นตัวแทนของประชาชนในระดับที่สูงขึ้น ฉะนั้นหากในพื้นที่บุคคลเหล่านี้ตระหนักถึงภาระหน้าที่แล้ว ย่อมส่งผลดีต่อการเมืองในระดับชาติ และนั่นเอาจหมายถึง การทำลายระบบเผด็จการในรัฐสภา ก็เป็นได้






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น